|
วงศ์ |
Bixaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bixa orellana L. |
|
|
ชื่อไทย |
คำแสด, คำเงาะ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
คำเงาะ(คนเมือง) มะยุ้ม หมากคำเงาะ มะกายหยุม |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 3 เมตร
ใบ มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ใบนั้นจะบางเกลี้ยงและนุ่มมีสีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนจะมีสีแดง มีความยาวประมาณ 11 – 18 ซม. และความกว้างประมาณ 8 – 10 ซม. ก้านใบนั้นจะประมาณ 2.5 – 7 ซม.
ดอก ดอกนั้นจะออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะออกดอกประมาณ 5 – 10 ดอก กลีบดอกนั้นจะมีสีขาวปนสีชมพู หรือสีชมพูอ่อน ดอกจะมีอยู่ชั้นเดียว
เกสร : เกสรตัวผู้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก และส่วนเกสรตัวเมียนั้นมีอยู่เพียง 1 อัน
อับเรณู : อับเรณูจะเป็นรูปโค้งงอ จะมีละอองเรณูออกมาทางช่องเปิดทางด้านบน รังไข่ รังไข่นั้นจะมีขนรุงรัง ภายในมีช่องอยู่ 1 ช่อง และมีไข่อ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก
ผล ผลจะมีขนสีแดงเข้มคล้ายผลเงาะ ถ้าผลแก่จัดก็จะแตกออกเป็นสองซีก ภายในผลจะมีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดนั้นจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง หรือสีแสด[1]
เป็นไม้พุ่ม ใบคล้ายใบโพธิ์ ดอกสีชมพู ร่วงง่าย ผลสีแดงสวยเมื่อยังไม่แก่จัด มีนยาวคล้ายเงาะ ภายในผลที่แก่จัดมีเมล็ดสีแดงค่อนข้างกลมหลายสิบเมล็ด เมล็ดจากผลแกจัดมีสารสีแดง คือ บิซิน (bixin) นอกจากใช้แต่งสีอาหารแล้วยังใช้ย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหม [3] |
|
|
ใบ |
ใบ มีลักษณะคล้ายใบโพธิ์ ใบนั้นจะบางเกลี้ยงและนุ่มมีสีเขียวเหลือบแดง ใบอ่อนจะมีสีแดง มีความยาวประมาณ 11 – 18 ซม. และความกว้างประมาณ 8 – 10 ซม. ก้านใบนั้นจะประมาณ 2.5 – 7 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกนั้นจะออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะออกดอกประมาณ 5 – 10 ดอก กลีบดอกนั้นจะมีสีขาวปนสีชมพู หรือสีชมพูอ่อน ดอกจะมีอยู่ชั้นเดียว
|
|
|
ผล |
ผล ผลจะมีขนสีแดงเข้มคล้ายผลเงาะ ถ้าผลแก่จัดก็จะแตกออกเป็นสองซีก ภายในผลจะมีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดนั้นจะมีเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง หรือสีแสด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เยื่อหุ้มเมล็ด ใช้ย้อมผ้า ให้สีส้ม(คนเมือง)
- เมล็ด หมอพื้นบ้านใช้ทำเป็นยารักษาอาการไข้ เป็นยาหอม เป็นยาฝาดสมาน รักษาโรคหนองใน โรคไข้มาลาเรีย โรคพิษจากมันสำปะหลังและสบู่แดง นอกจากนี้ยังนำมาใช้สกัดด้วยน้ำจะให้สี Annatto, arnotto หรือ Orlean ซึ่งเรานำมาใช้แต่งเป็นสีเนย น้ำมัน ไอศกรีมก็ได้ นอกจากจะใช้เป็นสีแต่งอาหารแล้ว ยังใช้ผสมในยาขัดหนังจะได้ทำให้หนังมีสีแดงคล้ำ สี Annatoo นี้เป็นสีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นสีแต่งอาหารได้ในหลายประเทศ
เนื้อหุ้มเมล็ด สามารถใช้เป็นยาระยายและขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง หรือใช้แต่งเป็นสีอาหารและเนยได้ ใบ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ ลดไข้ รักษาบิด ขับปัสสาวะ รักษาโรคดีซ่าน และยังใช้รักษาเนื่องจากถูกงูกัด
ดอก หมอพื้นบ้านใช้ปรุงเป็นยาบำรุงเลือดให้สมบูรณ์ รักษาอาการแสบร้อน คันตามผิวหนัง รักษาโรคโลหิตจางและเป็นยารักษาโรคบิด ไตพิการ
เปลือกราก ใช้ป้องกันโรคไข้มาลาเรีย ลดไข้ โรคหนองใน
- วิธีการเตรียมสีจากเมล็ดคำไทยนี้จะต้องแกะเมล็ดออกจากผลที่แก่จัด แล้วนำมาแช่น้ำร้อนหมักทิ้งไว้หลาย ๆ วันเพื่อทำให้สารสีตกตะกอน แล้วจึงแยกเมล็ดออก แล้วนำน้ำสีที่ได้ไปเคี่ยวจนน้ำเกือบแห้ง แล้วจึงนำไปตากแดดจนแห้งเป็นผงแล้วเก็บไว้ใช้ได้[1]
- ใช้ส่วนของเมล็ดในผลคำแสด มีสารสีแดง annatto และสารสีส้ม bixin สมัยโบราณใช้แต่งหน้าทาแก้ม เรียก ชาด นิยมใช้แต่สีขนมที่ต้องการสีแดงส้ม เช่นไอศกรีมเนย น้ำมัน ในหลายประเทศอนุญาตให้ใช้เป็นสีใส่อาหาร เนื่องจากเป็นสีที่มีความปลอดภัย นอกจากใช้แต่งสีอาหารยังใช้ย้อมผ้าได้ ย้อมได้ทั้งผ้าฝ้าย และผ้าไหม สีจาดคำแสดย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมติดแน่นดี แอนแนตโต เป็นแคโรทีนอยอ์ชนิดหนึ่ง ได้จากส่วนเมล็ดของพืชคำแสด โดยการสกัดขี้ผึ้งที่หุ้มอยู่รอบเมล็ดด้วยด่างหรือน้ำมัน เป็นสีที่ใช้เป็นสีแต่งอาหาร สิ่งทอ และเครื่องสำอาง มาแต่โบราณ และใช้แต่งสีอาหารจำพวกเนยในอเมริกาและยุโรปเป็นเวลามากกว่า 100 ปีมาแล้ว [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ทั่วไป แต่พบมากทางภาคเหนือ ชอบขึ้นในดินร่วนซุยที่ชุ่มชื้น |
|
|
เอกสารประกอบ |
|