|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
- Java cedar - Java cedar [9]
|
- Java cedar - Java cedar [9]
Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume) |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Phyllanthaceae (Euphorbiaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bischofia javanica Blume (Syn. Bischofia javensis Blume) |
|
|
ชื่อไทย |
เติม, ประดู่ส้ม, ไม้เติม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด่งเก้า (ม้ง), เดี๋ยงซุย(เมี่ยน), ไม้เติม, ลำผาด(ลั้วะ), ด่งเก้า(ม้ง), ไม้เติม(คนเมือง), ละล่ะทึม(ขมุ), ซาเตอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะเติ้ม(ปะหล่อง), ลำป้วย(ลั้วะ), ซะเต่ย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ชอชวาเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบ ขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 35 เมตร ลำต้นมีเนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลืองมีกลิ่นหอม เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลอมแดง และสีน้ำตาลเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เหลือกชั้นในสีน้ำตาลอมแดง มียางสีแดง
ใบ เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2-4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสีแดงสด
ดอก ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูปหอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ
ผล รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมน้ำตาล เมล็ดเป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม [9] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นแบบใบประกอบ 3 ใบย่อย เรียงตัวแบบสลับ ก้านใบย่อยใบข้างยาวประมาณ 1 ชม. ก้านใบปลาย 2-4 ซม. ก้านใบร่วง 7-18 ซม. แผ่นใบรูปไข่ยาว กว้าง 12-16 ซม. ยาว 32-80 ซม. ผิวใบเรียบ เกลี้ยง เมื่อแก่จัดสีแดงสด
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อยาว 7-30 ซม. เกิดบริเวณซอกใบดอกย่อยแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้มีกาบรูปหอกยาว 1.0-3.5 ซม. ร่วงเร็ว ก้านดอก 2-3 มม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน มีขนละเอียดปกคลุมกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองอมขาวเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ตรงกันข้าม ดอกเพศเมียมีก้านดอกยาว 4-6 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกันมีขนละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอมเขียวหรือขาวอมเหลือง ก้านเกสรสั้น ปลายแยก 3 แฉก โค้งกลับ
|
|
|
ผล |
ผล รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-0.7 ซม. ออกเป็นช่อ เมื่ออ่อนสีเขียวเข้ม สุกสีเหลืองอมน้ำตาล เมล็ดเป็นมัน 2-4 เมล็ด มีเนื้อหุ้ม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนลนไฟ ใช้ประกอบอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เช่น แกงส้มปลา(เมี่ยน,กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อนและดอก นำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ หรือนำไปลวกและรับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ใบ รับประทานสดหรือนำไปหมกกับเกลือกินแบบเมี่ยง(ลั้วะ)
ผล รับประทานได้(ลั้วะ,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ใบอ่อน สับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมในการทำลาบ, ผล รับประทานได้ มีรสหวานฝาด(ปะหล่อง)
ใบอ่อน นำไปต้มแล้วใช้ห่อเกลือกินแบบเมี่ยง(ขมุ)
ยอดอ่อนและดอกอ่อน ยำใส่ปลากระป๋อง มีรสเปรี้ยวและฝาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผลสุก รับประทานได้(ม้ง)
- เปลือกต้นหรือยอดอ่อน นำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย(ม้ง)
- ใบ เชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ท้องร่วงด้วย อาจใช้ต้มให้หมูที่มีอาการท้องร่วงกินเป็นยาก็ได้(เมี่ยน)
- ชาวเขาโดยทั่วไปกินผลสุก เผ่าม้งและลีซอใช้เนื้อไม้ เปลือก ลำต้น และใบต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง และใช้แก้โรคบิค ท้องเดิน [9]
- ไม้เนื้อแข็ง ใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง ทำสะพาน เครื่องฟอร์นิเจอร์ เปลือกใช้ย้อมภาชนะใช้สอยประเภทกระบุง ตะกร้าหรือเครื่องเรือนที่ทำด้วยหวายหรือไม้ไผ่ [9]
- การใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้าน เปลือกลำต้นดำผสมอาหารรสจัดแก้ท้องเสีย เนื้อไม้ต้มน้ำดื่มแก้เลือดกำเดาและบำรุงโลหิต ดอกแก้เสมหะ ลมจุกเสียด ท้องอืดท้องเฟ้อ [9]
- เนื้อไม้ รสฝาดขม บำรุงโลหิต แก้ไข้เพื่อโลหิตและกำเดา
ดอก รสร้อนหอม แก้จุกเสียด แก้ท้องขึ้น แก้เสมหะและลม [4] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[4] วุฒิ วุฒิธรรมเวช. 2540. สารานุกรมสมุนไพร : รวมหลักเภสัชกรรมไทย. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|