ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Wax gourd, White gourd, Chinese preserving melon, Chinese water melon - Wax Gourd, White Gourd, Chinese Water Melon, Chinese Preserving Melon [1]
- Wax gourd, White gourd, Chinese preserving melon, Chinese water melon - Wax Gourd, White Gourd, Chinese Water Melon, Chinese Preserving Melon [1]
Benincasa hispida (Thunb.) Cogn
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Benincasa hispida (Thunb.) Cogn
 
  ชื่อไทย ฟัก, ฟักเขียว, ฟักหม่น
 
  ชื่อท้องถิ่น หลู่ซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หลึกเส่(กะเหรี่ยงแดง), หลู่สะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), สบแมง(เมี่ยน), ฟักหม่น(คนเมือง), ฟักหม่น, ผักข้าว(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา, ลำต้นยาวหลายเมตร, มีขนหยาบทั้งต้น; มือเกาะมี 2 – 3 แขนง,
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบกว้าง 10 – 20 ซม., ยาว 10 – 25 ซม., เป็นเหลี่ยม หรือ แฉก 5 – 11 แฉก; ปลายใบแหลม, ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจกว้าง ๆ; มีขนทั้ง 2 ด้าน; ก้านใบยาว 10 – 20 ซม.
ดอก ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน; ดอกบานเต็มที่กว้าง 6 – 12 ซม. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 5 – 15 ซม.; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็นกลีบแคบ ๆ 5 กลีบ; กลีบดอกสีเหลือง, โคนเชื่อมติดกันเพียงเล็กน้อย, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, กลีบรูปไข่กลับ, ยาว 3 – 5 ซม., มีเส้นมองเห็นชัดเจน; เกสรผู้ 3 อัน, ติดอยู่ใกล้ปากท่อดอก; อับเรณูหันออกด้านนอก. ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น, กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รับไข่รูปไข่ หรือรูปทรงกระบอก, ยาว 2 – 4 ซม., มีขนยาวปกคลุมหนาแน่น, ท่อรับไข่สั้น, ปลายท่อแยกเป็น 3 แฉก,
ผล รูปไข่แกมขอบขนาน หรือ ขอบขนานค่อนข้างยาว, กว้าง 10 – 20 ซม., ยาว 20 – 40 ซม., ผลอ่อนมีขน, ผลแก่ผิวนอกมีนวลแป้งสีขาวเคลือบอยู่, ผิวแข็ง, เนื้อสีขาวปนเขียวอ่อน, หนา และอุ้มน้ำ, เนื้อตรงกลางฟุ, พรุน, มีเมล็ดติดอยู่จำนวนมาก. เมล็ด รูปไข่, แบน, กว้าง 5 – 7 มม., ยาว 10 – 15 มม., สีขาว หรือ สีน้ำตาลอ่อน, ผิวเรียบ. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบกว้าง 10 – 20 ซม., ยาว 10 – 25 ซม., เป็นเหลี่ยม หรือ แฉก 5 – 11 แฉก; ปลายใบแหลม, ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจกว้าง ๆ; มีขนทั้ง 2 ด้าน; ก้านใบยาว 10 – 20 ซม.
 
  ดอก ดอก ออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน; ดอกบานเต็มที่กว้าง 6 – 12 ซม. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 5 – 15 ซม.; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็นกลีบแคบ ๆ 5 กลีบ; กลีบดอกสีเหลือง, โคนเชื่อมติดกันเพียงเล็กน้อย, ปลายแยกเป็น 5 กลีบ, กลีบรูปไข่กลับ, ยาว 3 – 5 ซม., มีเส้นมองเห็นชัดเจน; เกสรผู้ 3 อัน, ติดอยู่ใกล้ปากท่อดอก; อับเรณูหันออกด้านนอก. ดอกเพศเมีย ก้านดอกสั้น, กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รับไข่รูปไข่ หรือรูปทรงกระบอก, ยาว 2 – 4 ซม., มีขนยาวปกคลุมหนาแน่น, ท่อรับไข่สั้น, ปลายท่อแยกเป็น 3 แฉก,
 
  ผล ผล รูปไข่แกมขอบขนาน หรือ ขอบขนานค่อนข้างยาว, กว้าง 10 – 20 ซม., ยาว 20 – 40 ซม., ผลอ่อนมีขน, ผลแก่ผิวนอกมีนวลแป้งสีขาวเคลือบอยู่, ผิวแข็ง, เนื้อสีขาวปนเขียวอ่อน, หนา และอุ้มน้ำ, เนื้อตรงกลางฟุ, พรุน, มีเมล็ดติดอยู่จำนวนมาก. เมล็ด รูปไข่, แบน, กว้าง 5 – 7 มม., ยาว 10 – 15 มม., สีขาว หรือ สีน้ำตาลอ่อน, ผิวเรียบ.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล นำไปแกง,ยอดอ่อน ลวกกิน(กะเหรี่ยงแดง)
ผลแก่ ประกอบอาหาร เช่น แกง(เมี่ยน,คนเมือง,กะเหรี่ยง)
- เถา ใช้เถาสด ซึ่งมีรสขมและเย็น ใช้รักษาอาการริดสีดวงทวารหลุด แก้ปอดอักเสบ มีไข้สูง เอาเถาตำเอาแต่น้ำหรือเอาต้มน้ำทาน ใช้จำนวนพอสมควร แต่ถ้าภายนอกก็ใช้ชะล้าง
ใบ แก้โรคบิดท้องเสีย ร้อนในกระหายน้ำ มาลาเรีย ผึ้งต่อย แก้บวมอักเสบมีหนอง ให้ใช้ใบสดต้มหรือคั้นเอาแต่น้ำทาน และตำพอกหรือบดเป็นผงผสมยาอื่นๆ
ผล เอาผลที่แก่เป็นผลแห้งหรือสดก็ได้ เป็นยาขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ หอบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ บิด ท้องเสีย หนองใน บวมน้ำ หลอดลมอักเสบ อึดแน่น ริดสีดวงทวาร พิษจากเนื้อสัตว์หรือปลา โดยใช้ผลสดประมาณ 60-240 กรัม ต้มกับน้ำหรือคั้นเอาแต่น้ำทาน แต่ถ้าภายนอกก็ใช้ชะล้าง
เปลือกผล เป็นยาแก้บวม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย แผลบวมอักเสบมีหนอง ใช้เปลือกผลที่แห้งและสะอาด 10-30 กรัม ต้มกับน้ำหรือผสมยาอื่นทาน ถ้าภายนอกก็บดเป็นผงทาหรือชะล้าง
ไส้ในผล มีรสชุ่ม แก้ร้อนในกระหายน้ำ หนองใน แก้บวมน้ำ แก้อักเสบ มีหนอง และลบรอยด่างดำบนใบหน้า ซึ่งต้องใช้ไส้ในสด 30-60 กรัม ต้มกับน้ำหรือคั้นเอาน้ำ
เมล็ด เป็นยาละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ บำรุงปอด แก้บวมน้ำ ไอเสมหะ ลำไส้อักเสบ วัณโรค หนองใน ริดสีดวงทวาร แผลมีหนองตกสะเก็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้งแล้ว ก่อนใช้ต้องล้างให้สะอาดก่อนใช้ประมาณ 9-30 กรัมบดเป็นผงหรือต้มกับน้ำทาน หรือใช้ทาและชะล้าง [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ขึ้นเองตามธรรมชาติในปาดิบแลง กระจายทั่วไป เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง