ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ก่อแป้น, ก่อหลวง
ก่อแป้น, ก่อหลวง
Castanopsis diversifolia (Kurz) King
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Fagaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Castanopsis diversifolia (Kurz) King
 
  ชื่อไทย ก่อแป้น, ก่อหลวง
 
  ชื่อท้องถิ่น สือเจ้งจั๊วะ (ม้ง), ก่อแป้น(คนเมือง), เส่ควอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ก่อหลวง, ก่อแป้น(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ลักษณะก่อที่พบในพื้นที่เป็นไม้ต้นไม่ผลัดใบขนาดกลางสูงประมาณ 8-15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยวเรียวสลับกัน ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อ ผลติดเป็นช่อมีเปลือกหนามแหลมหุ้มผล เนื้อผลสีขาว สำหรับก่อแป้นเป็นไม้ยืนต้น กึ่งผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวมีก้านใบยาว 1.2-2.0 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไขรีแกมขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-12 เซนติเมตร ยาว 8-24 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบมนสองข้างอาจจะเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบอาจเรียบตลอดหรือมีซี่หยักคล้ายฟันเลื่อยเฉพาะส่วนปลาย ใบแก่มีผิวด้านบนเกลี้ยงยกเว้นมีขนละเอียดตามเส้นกลางใบ มีด้านล่างมีขนละเอียดกระจายห่างๆ กันโดยเฉพาะตามเส้นใบด้านล่าง เส้นใบลึกลงจากผิวใบและเห็นได้ชัดเจน มีเส้นใบข้างจำนวน 10-14 คู่ ดอกออกเป็นช่อโดยทั่วไปคล้ายก่อหยุม ดอกย่อยติดกระจายหรือเป็นกระจุก กระจุกละ 2-3 ดอก วงกลีบรวม 6 กลีบ มีขนอยู่ตามขอบใบ ดอกเพศผู้มีเกสร 12 อัน รังไข่เป็นหมัน 1 อัน ดอกเพศเมียมีเกสรเพศผู้เป็นหมัน 12 อัน รังไข่ค่อนไปทางสามเหลี่ยม มีขนละเอียดปกคลุม ผลติดกับกิ่งไม่มีก้าน ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-4.0 เซนติเมตร กาบผลมีหนามแหลมเหยียดตรงขนาดต่างๆกัน ยาวตั้งแต่ 8-12 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่นตลอด เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลอมส้ม ผลด้านในเปลือกแข็งรูปไข่ ขนาด 0.6-1.3 เซนติเมตร มักจะมี 1 เม็ดต่อผล มีขนละเอียดปกคลุมเล็กน้อยบริเวณปลาย
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ "- ผล นำไปคั่ว รับประทานเนื้อข้างในได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เมล็ด นำไปคั่ว รับประทานได้(คนเมือง,ม้ง,ไทใหญ่)
- เนื้อไม้ ใช้ทำโครง สร้างส่วนต่างๆของบ้าน เช่น เสาบ้าน(คนเมือง,ม้ง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เมล็ด เก็บขาย(คนเมือง)"
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.

สุธรรม อารีกุล. 2552. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง, เชียงใหม่. 372 น.
 
  สภาพนิเวศ ป่าดิบเขาสภาพอากาศเย็นที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 700-1,200 เมตร
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง