|
วงศ์ |
Zingiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. |
|
|
ชื่อไทย |
|
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ปูเลย(ไทลื้อ,คนเมือง), มิ้นจะหล่าง(ไทใหญ่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไพล เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว มีกลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมใบหอก ขนาดใบกว้าง 3.5-5.5 ซม. และยาว 18-35 ซม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอก แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง |
|
|
ผล |
ผลเป็นผลแห้ง รูปทรงกลม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เหง้า สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
เหง้า ใช้แช่น้ำดื่มร่วมกับยอดหญ้าตดหมา ยอดอ่อนฝ่าแป้ง ลำต้นคูณ เป็นยาแก้สรรพพิษ หรือปั่นร่วมกับขมิ้นดำ น้ำผึ้ง พริกไทย แล้วปั้นเป็นยาลูกกลอน กินเป็นยาบำรุง(คนเมือง)
ลำต้นใต้ดิน กินดิบแก้อาหารเป็นพิษ เป็นยาบำรุงเลือดลม ใช้ในการอยู่ไฟของคนที่เพิ่งคลอดลูกใหม่(ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
Botany of month,
“หม่อน” พืชสารพัดประโยชน์,
“มะรุม” พืชสมุนไพร แต่ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ,
|