|
วงศ์ |
Leguminosae (Caesalpiniaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bauhinia sp.2 |
|
|
ชื่อไทย |
เสี้ยว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ป๊ะหูจั๋ง(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้น สูงประมาณ 1 เมตร |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปมนเกือบกลม แยกเป็น พู ปลายมนกลม กว้าง 8-16 ซม. ยาว 10-14 ซม. ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อออกด้านข้างหรือปลายกิ่ง 6-10 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ลักษณะของดอกคล้ายดอกกล้วยไม้ เกสร เกสรตัวผู้ จะเป็นเส้นงอนยาวยื่นออกมาตรงกลางดอก 3 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะอยู่ตรงกลางดอกอีก 1 เส้น รังไข่มีขน |
|
|
ผล |
เป็นฝัก คล้ายฝักถั่ว ยาว 20-25 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปร่างกลมมีประมาณ 10 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริกหรือแกง, ดอก รับประทานได้ใช้ ประกอบอาหารเช่น ผัด(ม้ง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ตามถนนสองข้างทาง เป็นไม้ที่ปลูกง่าย โตเร็ว ให้ความร่มรื่นเป็นอย่างดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง ออกดอกในช่วงปลายฝนต้นหนาว เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|