|
วงศ์ |
Basellaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Basella alba L. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักปลัง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ผักปั๋ง(คนเมือง,ไทลื้อ), เดี้ยจุ่น (เมี่ยน), มั้งฉ่าง(ม้ง) - ผักปั๋ง (ภาคเหนือ), ผักปลัง ผักปลังใหญ่ (ภาคกลาง), ผักปลังแดงหรือผักปลังขาว (ทั่วไป), โปเด้งฉาย (จีน) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อยพาดพันตามสิ่งยึดเกาะ แตกกิ่งก้านสาขามาก เถากลมอวบน้ำ มีขึ้นทั่วไปปลูกง่ายเมล็ดที่ตกสู่พื้นดินจะเจริญเป็นต้นขยายพันธุ์เร็วมาก อาจเป็นไม้ค้างประดับบ้านและใช้เป็นผักได้ด้วย
ใบ เป็นในใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีก้านใบยาว อวบน้ำ รูปไข่ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบแหลม ใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ โคนใบมน เนื้อใบหนานุ่มมือ ขอบใบเรียบ โตคล้ายใบเถาคันใบหนาภายในมีเมือกรับประทานเป็นผักและช่วยระบาย ถ้าเถาและใบแดงหรือม่วงแดงเรียกผักปลังแดง เถาและใบเขียวเรียกผักปลังขาวหรือเขียว
ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีชมพู ยาวประมาณ 4 มม. มีกลีบรองดอก 1 กลีบ กลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลมรี กลีบดอกสีแดงอ่อน โคนกลีบติดกัน ปลายกลีบแยก 5 แฉก มน ตั้งตรง เกสรตัวผู้ 5 ยาว เกสรตัวเมีย 3 ยอดเกสรตัวเมียกลม รังไข่ 1 ช่อง
ผล กลมแป้น ผิวเรียบ ปลายผลเป็นลอน ผลสดฉ่ำน้ำขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีม่วงดำ น้ำในผลสีม่วงแดง เมล็ดเดี่ยว [3] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นในใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีก้านใบยาว อวบน้ำ รูปไข่ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบแหลม ใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ โคนใบมน เนื้อใบหนานุ่มมือ ขอบใบเรียบ โตคล้ายใบเถาคันใบหนาภายในมีเมือกรับประทานเป็นผักและช่วยระบาย ถ้าเถาและใบแดงหรือม่วงแดงเรียกผักปลังแดง เถาและใบเขียวเรียกผักปลังขาวหรือเขียว
|
|
|
ดอก |
ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก สีชมพู ยาวประมาณ 4 มม. มีกลีบรองดอก 1 กลีบ กลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลมรี กลีบดอกสีแดงอ่อน โคนกลีบติดกัน ปลายกลีบแยก 5 แฉก มน ตั้งตรง เกสรตัวผู้ 5 ยาว เกสรตัวเมีย 3 ยอดเกสรตัวเมียกลม รังไข่ 1 ช่อง
|
|
|
ผล |
ผล กลมแป้น ผิวเรียบ ปลายผลเป็นลอน ผลสดฉ่ำน้ำขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีม่วงดำ น้ำในผลสีม่วงแดง เมล็ดเดี่ยว |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง(คนเมือง,ไทลื้อ)
- ยอดอ่อน ต้มให้สตรีที่อยู่ไฟกินเป็นยาบำรุง(คนเมือง)
ยอดอ่อน แกงหรือใส่ต้มไก่เป็นยาบำรุงเลือดลมสำหรับคนที่หน้าซีด เลือดลมไม่ดี(ม้ง)
ยอดอ่อน ใช้ใส่แกงหรือต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทาน เป็นยาบำรุง(เมี่ยน)
- เครือ นำมามัดเอวให้สตรีใกล้คลอดมีความเชื่อว่าช่วยให้ ลูกคลอดง่าย(คนเมือง)
สรรพคุณความเชื่อ
ดอก ยอด และใบ รสจืดเย็น เป็นยาระบาย เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก แต่งสี กลิ่น รสอาหาร แกงเลียง แกงส้ม แกงแค แกงปลา หรือนึ่งต้ม
ใบ รสหวานเอียน จืดเย็น เชื่อว่า แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน ขับปัสสาวะ ระบายท้อง แก้บิด แก้ฝีเนื้อร้าย
ผลสุก รสเย็น ใช้แต่งสีม่วงขนม เช่น ขนมบัวลอย สลิ่ม
ราก รสเย็นหวานเอียน เชื่อว่า แก้รังแค มือเท้าด่าง ท้องผูก ขับปัสสาวะ หล่อลื่นภายใน ทาถูนวดผิวหนังให้เลือดมาเลี้ยง
ลำต้น รสหวานเอียน แก้พิษฝีดาษ อักเสบบวม ไส้ติ่งอักเสบ แน่นท้อง ช่วยระบายท้อง
ดอก รสหวานเอียน แก้โรคเรื้อน หัวนมแตก ดับพิษฝีดาษ แก้เกลื้อน
ทั้ง 5 (ราก ต้น ใบ ดอก ผล) รสหวาน แต่งรสอาหาร
อาการท้องผูก ใช้ใบสดปรุงอาหาร รับประทานเป็นประจำ
อาการแน่นท้อง อึดอัด กลัดกลุ้ม ใช้ใบสดและยอดอ่อน 60 กรัม ต้มน้ำเดี่ยวให้ข้นดื่ม
อาการขัดเบา ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำดื่ม
ปวดแขนขา ใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
ไส้ติ่งอักเสบ ใช้ใบสด ยอดอ่อน 60-120 กรัม ผสมน้ำและเหล้าอย่างละเท่าๆ กัน ต้มดื่ม
ผื่นคัน แผลสด ฝี แผลไฟไหม้ ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำและพอกวันละ 1-2 ครั้ง
ตกเลือดเรื้อรัง ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม ต้มน้ำรับประทาน
แก้ท้องผูก มือเท้าด่างขาว ใช้รากต้มน้ำรับประทาน
แก้รังแค ใช้รากต้มน้ำสระผล [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|