|
วงศ์ |
Acanthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Barleria lupulina Lindl. |
|
|
ชื่อไทย |
เสลดพังพอน, เสลดพังพอนตัวผู้ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด่อมะอ้าย(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งด้านสาขามากมายรอบ ๆ ต้น มีสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร
ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวเล็กจนถึงก้านใบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง พื้นใบมีสีเขียวเข้มและมัน เส้นกลางใบสีแดง ใบยาวประมาณ 1.5 – 3.5 นิ้ว ก้านใบสั้น และที่โคนก้านมีหนามแหลมหนึ่งคู่สีม่วงชี้ลง
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ซึ่งจะเรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว ปลายใบสีม่วงแดง ดอกมีสีส้มและสีเหลือง มี 5 กลีบ แบ่งออกเป็นกลีบบนและล่าง กลีบบนจะมี 3 กลีบ และใหญ่กว่ากลีบล่าง 2 กลีบ
ผล : เป็นฝัก รูปมนรี แบน และยาว ภายในผลมีเมล็ด 2 – 4 เม็ด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวเล็กจนถึงก้านใบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง พื้นใบมีสีเขียวเข้มและมัน เส้นกลางใบสีแดง ใบยาวประมาณ 1.5 – 3.5 นิ้ว ก้านใบสั้น และที่โคนก้านมีหนามแหลมหนึ่งคู่สีม่วงชี้ลง
|
|
|
ดอก |
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ซึ่งจะเรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว ปลายใบสีม่วงแดง ดอกมีสีส้มและสีเหลือง มี 5 กลีบ แบ่งออกเป็นกลีบบนและล่าง กลีบบนจะมี 3 กลีบ และใหญ่กว่ากลีบล่าง 2 กลีบ
|
|
|
ผล |
ผล : เป็นฝัก รูปมนรี แบน และยาว ภายในผลมีเมล็ด 2 – 4 เม็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ตำผสมน้ำข้าวสารใช้พอกหรือทาแผลแมลงกัดต่อยเพื่อแก้พิษ หรือเป็นลมพิษ หรือต้มกิน ช่วยลดอาการจากไข้มาเลเลีย มีรสขมมาก(ปะหล่อง)
- ต้น ปลูกเป็นแนวรั้วป้องกันงู(เมี่ยน)
- ใบ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง แมงป่อง ตะขาบ แผลฟกช้ำจากการกระทบกระแทก หรือแผลมีเลือดออก ให้ใช้ใบตำพอกหรือผสมกับเหล้าตำพอก และอาจจะใช้ต้มน้ำกินทำให้เลือดไหลเวียนดี[1]
- อื่น ๆ : ในมาเลเซียใช้แก้ปวดฟันและแก้งูกัด ส่วนในประเทศไทยใช้แก้พิษงูเห่ากัด โดยที่ใช้ตำพอกปากแผลส่วนหนึ่ง แล้วผสมเหล้ากินส่วนหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงการยืดเวลาก่อนทีจะไปหาหมอ รากฝนทาแก้พิษตะขาบ พิษงู แมงป่อง[1]
- ตำรับยา : แมลงสัตว์กัดต่อย เช่นพวก แมงป่อง ตะขาบ ให้ใช้ใบสดผสมกับเหล้าตำพอกตรงบริเวณที่เป็น[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายอยู่ทั่วไป ชอบดินร่วน อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|