ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะไฟ, มะไฟป่า
มะไฟ, มะไฟป่า
Baccaurea ramiflora Lour.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Phyllanthaceae (Euphorbiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Baccaurea ramiflora Lour.
 
  ชื่อไทย มะไฟ, มะไฟป่า
 
  ชื่อท้องถิ่น ตะปึ๊ดจือ(กะเหรี่ยง), มะไฟป่า(ไทลื้อ,คนเมือง), เบล่มเพี่ยว(ปะหล่อง), แผละชาร์ล(ลั้วะ), ไฮ่เพี่ยว(ปะหล่อง), มะจือซะ(กะเหรี่ยง), ซะมิโจ้เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะไฟ(คนเมือง,เมี่ยน), ตั่วเหลงกู่(ม้ง), เพียะชาล(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น ขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ, สูง 13 – 17 ม. ตามยอดและปลายกิ่งอ่อนมีขน
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5 – 8 ซม. ยาว 10.5 – 22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5 – 8 คู่, ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5 – 6 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใยและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5 – 7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2 – 3 มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 – 5 กลีบ, ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4 – 8 อัน. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก, มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก; กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2 – 3 อัน ภายในมี 3 ช่อง
ผล ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1 – 3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปหอก รูปหอกกลับ หรือรูปไข่กลับ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักตื้นๆ ไม่สม่ำเสมอ ปลายใบเรียวแหลม กว้าง 4.5 – 8 ซม. ยาว 10.5 – 22 ซม. เส้นแขนงใบมี 5 – 8 คู่, ด้านล่างนูน ไม่มีขนทั้งสองด้าน เนื้อใบค่อนข้างบาง ก้านใบยาว 1.5 – 6 ซม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อยาวๆ ตามง่ามใยและตามกิ่งที่ไร้ใบ สีเหลือง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียส่วนมากอยู่ต่างต้นกัน ส่วนน้อยที่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีขน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อยาว 5 – 7.5 ซม. ใบประดับรูปหอก กว้าง 2 – 3 มม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 – 5 กลีบ, ขนาดไม่เท่ากัน เกสรผู้มี 4 – 8 อัน. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อยาวมาก, มีใบประดับอยู่ที่โคนก้านดอก; กลีบรองกลีบดอกรูปขอบขนานแคบๆ ยาวประมาณ 1.2 ซม. รังไข่มีขน ไม่มีท่อรังไข่ ปลายเกสรแยกเป็น 2 – 3 อัน ภายในมี 3 ช่อง
 
  ผล ผล ค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25 มม. ผิวสีเหลือง ไม่มีขน มี 1 – 3 เมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวขุ่น รสเปรี้ยวอมหวาน
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(กะเหรี่ยง,ไทลื้อ,ปะหล่อง,ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง,คนเมือง,ม้ง)
- ราก น้ำต้มราก, รวมกับสมุนไพรอื่น ๆ , ดื่มแก้ท้องร่วง หลังการคลอดบุตร ; เผาไฟกินเป็นยาถอนพิษ, ดับพิษร้อน, ทาแก้บวม, อักเสบ . ต้น เปลือกทำเป็นยาทาภายนอก, แก้โรคผิวหนังบางชนิด [6]
- รากใช้รากสด หรือรากแห้ง นำมาปรุงเป็นยาแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค แก้ฝีภายใน ดับพิษร้อน พิษกำมะลอและเริม เป็นต้น
ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้ [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในป่าดิบแล้ง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง