ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Siamese neem tree
Siamese neem tree
Azadirachta indica A.Juss. (Syn. Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Meliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A.Juss. (Syn. Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton)
 
  ชื่อไทย สะเดา
 
  ชื่อท้องถิ่น - ผักสะเลม(ไทลื้อ), สะเลียม(คนเมือง), ตะหม่าเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) ลำต๋าว(ลั้วะ), สะเรียม(ขมุ) - สะเดา (ภาคกลาง) กะเดา (ภาคใต้) ควินิน (ทั่วไป) จะตัง (ส่วย) สะเลียม (ภาคเหนือ) สะเดาอินเเดีย (กรุงเทพฯ) [8]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น สูงถึง 16 ม. เปลือกลำต้นสีน้ำตาลแดง หรือสีออกเทา เมื่อแก่แตกเป็นร่องหรือเป็นแผ่นๆ
ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 15-35 ซม. มีใบย่อย 4-7 คู่ เมื่ออ่อนสีแดง ก้านใบยาว 3-7 ซม. ค่อนข้างเกลี้ยง มีต่อม 1 คู่ที่โคนของก้านใบ ใบย่อยติดตรงข้าม หรือกิ่งตรงข้ามรูปใบหอกกึ่งรูปเคียว โค้ง กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ใบที่เกือบปลายช่อจะใหญ่ที่สุด ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนเบี้ยวเห็นชัดเจน ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ค่อนข้างเกลี้ยง เส้นใบมีประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาว 1-2
ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ตามง่ามใบ หรือตามมุมที่ใบร่วงหลุดไป ยาวถึง 30 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม แกนกลางช่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.5 มม. ค่อนข้างเกลี้ยง แตกกิ่งกางออกเป็น 2 ถึง 3 ชั้น และที่ปลายเป็นช่อกระจุกอยู่ 1-3 ดอก มีขนคล้ายไหม มีใบประดับและใบประดับย่อยรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.5-1 มม. มีขนนุ่มสั้น ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. มีขนนุ่มสั้น กลีบเลี้ยงรูปทรงแจกัน ยาวประมาณ 1 มม. ปลายเป็น 5 พูกลม พูซ้อนเหลื่อมกัน ขนนุ่มสั้น ที่ขอบมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกจากกัน รูปช้อนแคบยาว 4-6 มม. มีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน ท่อเกสรเพศผู้เกลี้ยง หรือมีขนนุ่ม มี 10 สัน ขอบบนเป็นพูกลม 10 พู อับเรณูมี 10 อัน ยาวประมาณ 0.8 มม. รูปรีแคบ รังไข่เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มสั้น
ผล สด รูปรี ยาว 1-2 มม. สีเขียว เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อบาง นุ่ม [8]
 
  ใบ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 15-35 ซม. มีใบย่อย 4-7 คู่ เมื่ออ่อนสีแดง ก้านใบยาว 3-7 ซม. ค่อนข้างเกลี้ยง มีต่อม 1 คู่ที่โคนของก้านใบ ใบย่อยติดตรงข้าม หรือกิ่งตรงข้ามรูปใบหอกกึ่งรูปเคียว โค้ง กว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 5-9 ซม. ใบที่เกือบปลายช่อจะใหญ่ที่สุด ปลายแหลม หรือเรียวแหลม โคนเบี้ยวเห็นชัดเจน ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ค่อนข้างเกลี้ยง เส้นใบมีประมาณ 15 คู่ ก้านใบย่อยยาว 1-2
 
  ดอก ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ตามง่ามใบ หรือตามมุมที่ใบร่วงหลุดไป ยาวถึง 30 ซม. ดอกมีกลิ่นหอม แกนกลางช่อมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 1.5 มม. ค่อนข้างเกลี้ยง แตกกิ่งกางออกเป็น 2 ถึง 3 ชั้น และที่ปลายเป็นช่อกระจุกอยู่ 1-3 ดอก มีขนคล้ายไหม มีใบประดับและใบประดับย่อยรูปใบหอก ยาวประมาณ 0.5-1 มม. มีขนนุ่มสั้น ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2 มม. มีขนนุ่มสั้น กลีบเลี้ยงรูปทรงแจกัน ยาวประมาณ 1 มม. ปลายเป็น 5 พูกลม พูซ้อนเหลื่อมกัน ขนนุ่มสั้น ที่ขอบมีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกจากกัน รูปช้อนแคบยาว 4-6 มม. มีขนนุ่มสั้นทั้งสองด้าน ท่อเกสรเพศผู้เกลี้ยง หรือมีขนนุ่ม มี 10 สัน ขอบบนเป็นพูกลม 10 พู อับเรณูมี 10 อัน ยาวประมาณ 0.8 มม. รูปรีแคบ รังไข่เกลี้ยง หรือมีขนนุ่มสั้น
 
  ผล ผล สด รูปรี ยาว 1-2 มม. สีเขียว เมื่อแก่สีเหลือง เนื้อบาง นุ่ม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน กินกับลาบ(ไทลื้อ)
ยอดอ่อนและดอกอ่อน รับประทานสดหรือลวกกินกับน้ำพริกหรือลาบ(กะเหรี่ยงแดง)
แกนในยอดอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง(ลั้วะ)
ช่อดอก ลวกกินกับน้ำพริก มีรสขม(คนเมือง)
ดอก รับประทานกับแกงหน่อไม้หรือลาบ(คนเมือง)
- ราก นำไปเข้ายารักษาโรคกระเพาะร่วมกับรากมะเฟือง รากมะละกอตัวผู้ รากหญ้าปันยอด(คนเมือง)
- ใบ แช่น้ำจนเน่าแล้วกรองน้ำที่ได้ไปพ่นฆ่าแมลง ผสมกับต้นหัน(ขมุ)
ใบ นำไปหมักใช้ทำน้ำหมัก พ่นไล่แมลง(คนเมือง)
- เปลือกต้น ใบ เป็นยาเจริญอาหาร ยาสมาน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง
เปลือกต้น ใบ เมล็ด ใช้ในรายที่ถูกงูกัด และแมลงป่องต่อย ลำต้น ราก เปลือกต้น ใช้แก้ไข้ แก้มาลาเรีย เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับพยาธิ์ ยาระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ยากระตุ้น น้ำต้มรากใช้เช่นเดียวกับน้ำต้มใบ
กิ่งอ่อนเคี้ยวทำให้ฟันและเหงือกสะอาด แข็งแรง น้ำตาลที่ได้จากการหมักน้ำจากลำต้น แก้กระหายน้ำ มีแร่ธาตุ แก้ปวดท้อง เป็นยาบำรุง เปลือกแก้โรคหิด โรคเรื้อน โรคผิวหนัง
ยาง จากเปลือกลำต้นเป็นยากระตุ้น [8]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง