ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ไพลดำ, ปูเลยดำ
ไพลดำ, ปูเลยดำ
Zingiber ottensii Valeton
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Zingiberaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber ottensii Valeton
 
  ชื่อไทย ไพลดำ, ปูเลยดำ
 
  ชื่อท้องถิ่น แบล๊ะโค่ซู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เปยดำ(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ลงหัวภายในจะมีม่วงจาง ๆ ขึ้นเป็นกอมีความสูงประมาณ 1.5 – 3 เมตร
ใบ จะมีลักษณะตรงปลายเรียว แหลมและเกลี้ยง แต่ไม่มีขนใบมีความยาวประมาณ 25 – 30 ซม.
ดอก จะออกเป็นช่อตรงจากหัว ดอกโตวัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 6 – 7 ซม. ตรงปลายทู่ ดอกจะเป็นสีเหลืองนวล กระเปาะดอกสีเหลืองมีประและขีดเป็นสีม่วง เป็นรูปสามแฉกมน ๆ มีความยาวประมาณ 15 มม. แฉกกลางจะเว้าตรงปลายเล็กน้อย มีดอกเดี่ยวต่อกาบ กาบหุ้มดอกจะเป็นรูปไข่มน ๆ แข็งหนาเป็นสีแดง[1]
 
  ใบ ใบ จะมีลักษณะตรงปลายเรียว แหลมและเกลี้ยง แต่ไม่มีขนใบมีความยาวประมาณ 25 – 30 ซม.
 
  ดอก ดอก จะออกเป็นช่อตรงจากหัว ดอกโตวัดผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 6 – 7 ซม. ตรงปลายทู่ ดอกจะเป็นสีเหลืองนวล กระเปาะดอกสีเหลืองมีประและขีดเป็นสีม่วง เป็นรูปสามแฉกมน ๆ มีความยาวประมาณ 15 มม. แฉกกลางจะเว้าตรงปลายเล็กน้อย มีดอกเดี่ยวต่อกาบ กาบหุ้มดอกจะเป็นรูปไข่มน ๆ แข็งหนาเป็นสีแดง
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้นใต้ดิน รับประทานสดหรือต้มน้ำดื่มรักษาโรคกระเพาะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ทั้งต้น ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารเป็นพิษ ลำไส้เป็นแผล รักษาอาการบวม อาการช้ำทั้งตัว เป็นยาบำรุงกำลัง และเป็นยาอนุวัฒนะอีกด้วย
 
  อ้างอิง "เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ."
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง