|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Artocarpus heterophyllus Lam. |
|
|
ชื่อไทย |
ขนุน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เป่อะนวยสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), บ่ะหน่อยซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ไฮ่เบร่ล่าง(ปะหล่อง), มะหนุน(คนเมือง), ปล้าหยุ่ง(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 10-20 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลแกมแดงเรื่อ กิ่งก้านเกลี้ยงมียางเหนียวสีขาว หูใบเล็ก ยาว 1.5-5 ซม. หุ้มลำต้น เมื่อหลุดร่วงทิ้งรอยแผลเป็นเป็นวงแหวนไว้ บนกิ่ง
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรี กว้าง 3.5-12 ซม. ยาว 5-25 ซม. ปลายมน หรือค่อนข้างเรียวแหลม โคนค่อนข้างสอบแคบ และเป็นครีบเล็กน้อย ขอบเรียบเกลี้ยง เมื่อแห้งสีส้มไหม้ๆ เส้นใบมี 6-10 คู่ ก้านใบยาว 8-25 มม. ใบในต้นกล้าขอบจักเป็นพูข้างละ 1-3 คู่
ดอก สีเขียวสด ดอกแยกเพศอยู่ร่วมกัน ออกเป็นช่อเเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ บนกิ่งใหญ่ที่มีใบช่อดอกเพศเมีย มี 1-2 ช่อ อยู่ในง่ามใบของใบที่ต่ำที่สุด ช่อดอกเพศผู้ ติดอยุ่สูงกว่าและมีจำนวนมาก เป็นรูปกระบองแคบ หรือรูปถัง กว้าง 8-28 มม. ยาว 25-70 มม. มีกลีบรวมที่มีลักษณะคล้ายใบประดับ เมื่อบานมีกลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ ก้านช่อดอกกว้าง 2-3 มม. ยาว 12-55 ม. ที่ปลายขยายออกเป็นปีกเล็ก หรือวงแหวนล้อมรอบโคนของช่อดอก กลีบรวมจักเป็น 2 พู มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 1 อัน ยาว 1.5-2 มม. ช่อดอกเพศเมีย รูปทรงกระบอก แข็งและใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้วงกลีบรวมโผล่พ้นออกมาเห็นชัด ปลายเป็นรูปกรวย ยอดเกสรเพศเมียมี 1 อัน รูปช้อน โผล่พ้นขึ้นมา 1.5 มม.
ผล รูปรี สีเขียวอมเหลือง กว้าง 25-50 ซม. ยาว 30-100 ซม. มีก้านผลกว้าง 1-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ผิวเป็นตุ่มรูปกรวยปลายแหลม หรือมนอยู่ทั่วไป เมื่อสุกมีกลิ่นหอม ผลย่อยแต่ละผลอยู่ในกลีบรวมสีเหลืองถึงสีส้มสด มัน เป็นเนื้อหนานุ่มคล้ายถุง เมล็ดฺ มีจำนวนมาก รูปค่อนข้างกลม หรือขอบขนาน กว้าง 15-20 มม. ยาว 25-30 มม. [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับแกมรี กว้าง 3.5-12 ซม. ยาว 5-25 ซม. ปลายมน หรือค่อนข้างเรียวแหลม โคนค่อนข้างสอบแคบ และเป็นครีบเล็กน้อย ขอบเรียบเกลี้ยง เมื่อแห้งสีส้มไหม้ๆ เส้นใบมี 6-10 คู่ ก้านใบยาว 8-25 มม. ใบในต้นกล้าขอบจักเป็นพูข้างละ 1-3 คู่
|
|
|
ดอก |
ดอก สีเขียวสด ดอกแยกเพศอยู่ร่วมกัน ออกเป็นช่อเเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ บนกิ่งใหญ่ที่มีใบช่อดอกเพศเมีย มี 1-2 ช่อ อยู่ในง่ามใบของใบที่ต่ำที่สุด ช่อดอกเพศผู้ ติดอยุ่สูงกว่าและมีจำนวนมาก เป็นรูปกระบองแคบ หรือรูปถัง กว้าง 8-28 มม. ยาว 25-70 มม. มีกลีบรวมที่มีลักษณะคล้ายใบประดับ เมื่อบานมีกลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ ก้านช่อดอกกว้าง 2-3 มม. ยาว 12-55 ม. ที่ปลายขยายออกเป็นปีกเล็ก หรือวงแหวนล้อมรอบโคนของช่อดอก กลีบรวมจักเป็น 2 พู มีขนประปราย เกสรเพศผู้มี 1 อัน ยาว 1.5-2 มม. ช่อดอกเพศเมีย รูปทรงกระบอก แข็งและใหญ่กว่าช่อดอกเพศผู้วงกลีบรวมโผล่พ้นออกมาเห็นชัด ปลายเป็นรูปกรวย ยอดเกสรเพศเมียมี 1 อัน รูปช้อน โผล่พ้นขึ้นมา 1.5 มม.
|
|
|
ผล |
ผล รูปรี สีเขียวอมเหลือง กว้าง 25-50 ซม. ยาว 30-100 ซม. มีก้านผลกว้าง 1-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ผิวเป็นตุ่มรูปกรวยปลายแหลม หรือมนอยู่ทั่วไป เมื่อสุกมีกลิ่นหอม ผลย่อยแต่ละผลอยู่ในกลีบรวมสีเหลืองถึงสีส้มสด มัน เป็นเนื้อหนานุ่มคล้ายถุง เมล็ดฺ มีจำนวนมาก รูปค่อนข้างกลม หรือขอบขนาน กว้าง 15-20 มม. ยาว 25-30 มม. |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลดิบ นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ, ผลสุก รับประทาน เป็นผลไม้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ปะหล่อง,ม้ง)
- เมล็ด ให้ใช้ประมาณ 60-240 กรัม ต้มสุกกิน จะมีรสชุ่ม ช่วยขับน้ำนมในสตรีหลังคลอด มีน้ำนมน้อยหรือไม่มีน้ำนมช่วยบำรุงร่างกาย
เนื้อหุ้มเมล็ด ให้ใช้สด ผสมกับน้ำหวานกินบำรุงกำลัง หรือกินเป็นขนมก็ได้
ใบ ใช้สด นำมาตำให้ละเอียด อุ่นแล้วพอกแผล ใบแห้งให้บดเป็นผงโรย หรือใช้ผสมทาตรงที่เป็นแผล ใช้สำหรับภายนอก รักษาแผลมีหนองเรื้อรัง
ยาง จะมีรสจืด ฝาดเล็กน้อย ให้ใช้ยางสด ทาบริเวณที่บวมอักเสบ แผลมีหนองเรื้อรัง ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเกิดจากแผล มีหนองที่ผิวหนัง
แกนและราก ใช้แห้งประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำรับประทาน จะมีรสหวานชุ่ม รักษากามโรค และบำรุงเลือด
ผลอ่อน นำมาต้มเป็นผักจิ้มแล้ว ยังมีฤทธิ์ฝาดสมาน รักษาอาการท้องเสีย
ผลสุก จะมีกลิ่นหอม เนื้อในจะมีสีเหลืองนำมารับประทานได้หรือผสมกับน้ำหวานเป็นขนม เนื้อในสีเหลืองลื่น รับประทานรักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก รับประทานมากจะเป็นยาระบายอ่อนๆ
ใบสด ใช้ต้มน้ำให้สัตว์กิน ช่วยขับน้ำนม และสามารถนำมาเผากับซังข้าวโพดและกะลามะพร้าวให้เป็นเถ้า ใช้เถารักษาแผลที่เป็นแผลเรื้อรังได้
น้ำยาง จะมี resins ใช้เป็นสารเคลือบวัตถุ หรือจะนำมาผสมกับยางไม้อื่นเพื่อทำตังดักนกก็ได้ นอกจากนี้ยังใช้เป็นยารักษาโรคซิฟิลิส และขับพยาธิ
ราก นำมาต้มรับประทานแก้อาการท้องเสียผสมยาอื่นรับประทาน สามารถรักษาไข้
แกนไม้ ที่เราเรียกว่า กรัก ซึ่งเป็นไม้สีเหลืองเข้มออกน้ำตาลทำให้ปลวกและราไม่ขึ้น สามารถทำฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์และเครื่องดนตรี
ประโยชน์ทางยา จะมีรสหวาน ชุ่ม ขม สามารถใช้บำรุงกำลังและบำรุงโลหิต ฝาดสมาน รักษาโรคกามโรค นอกจากนี้แล้วยังนำมาย้อมผ้าโดยการใช้สารส้มเป็นตัวช่วยให้สีติดทนนาน ผ้าที่ย้อมจะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และยังเป็นยาระงับประสาทและโรคลมชัก [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ปลูกได้ทั่วไป ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และแสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|