ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Mugwort
Mugwort
Artemisia vulgaris L. var. indica Maxim.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia vulgaris L. var. indica Maxim.
 
  ชื่อไทย จิงจูฉ้าย, โกศจุฬาลำพาจีน
 
  ชื่อท้องถิ่น เฮวเงิน(ไทใหญ่)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นสูงประมาณ 1.5 – 2 เมตร โคนต้นจะมีราก เป็นเหง้าติดพื้นดินหรืออยู่ใต้ดิน กิ่งก้านแตกสาขาออกมาก
ใบ ใบออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเป็นซี่ 2 – 3 ซี่, ปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 9 ซม. ยาวประมาณ 2.5 – 10.5 ซม. พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง
ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบของมัน ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 3.5 – 5 มม. กลีบดอกมีต่อม โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อปลายหยักแฉก 2 – 3 แฉก ดอกวงนอกยาวประมาณ 1 มม. ดอกวงใน โคนดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกหยักเป็นแฉก 4 – 5 แฉก ปลายแหลม กลางดอกมีเกสรโผล่พ้นกลีบดอกออกมา
เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ พื้นผิวเกลี้ยง[1]
 
  ใบ ใบ ใบออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบหยักเป็นซี่ 2 – 3 ซี่, ปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 9 ซม. ยาวประมาณ 2.5 – 10.5 ซม. พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบของมัน ลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 3.5 – 5 มม. กลีบดอกมีต่อม โคนดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อปลายหยักแฉก 2 – 3 แฉก ดอกวงนอกยาวประมาณ 1 มม. ดอกวงใน โคนดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบดอกหยักเป็นแฉก 4 – 5 แฉก ปลายแหลม กลางดอกมีเกสรโผล่พ้นกลีบดอกออกมา
 
  ผล เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่ พื้นผิวเกลี้ยง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก ใช้บูชาพระ นำไปวัด(ไทใหญ่)
- ใบ ใช้เป็นยาขับถ่ายน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องร่วง ถ่ายพยาธิ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ ขับลมในลำไส้ แก้ไขข้ออักเสบ ระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ประจำเดือนมาปกติบำรุงมดลูก ระงับอาการปวดท้องและอาการเจ็บท้องคลอดลูก โดยการใช้ใบต้มเอาน้ำดื่ม ใช้ภายนอกนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกแก้โรคปวดศีรษะ รักษาบาดแผลเรื้อรัง แก้อาการเคล็ดบวม ใช้สูบควันแก้โรคหืด
ใบและช่อดอก ใช้ต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ขับเสมหะ, แก้หืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง