|
วงศ์ |
Aristolochiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Aristolochia tagala Cham. |
|
|
ชื่อไทย |
กระเช้าผีมด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
พ่วน(ลั้วะ), ผักห่ามป่าย, ผักห่ามหนี(คนเมือง), ลำเด่อ(ลั้วะ), ผักข้าว(คนเมือง), ชั้วมัดหลัว (ม้ง), บ่ะหูกว๋าง(ลั้วะ), คอหมู่เด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยที่มีลำต้นเป็นเถา ลักษณะลำเถาเรียบไม่มีขน พื้นผิวเป็นร่องไปตามยาวของลำเถา
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ โคนใบเว้าหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม พื้นผิวและริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมี 1 – 2 ดอก ดอกมีลักษณะขนาดเล็ก กลีบดอกมีอยู่ชั้นเดียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดท่อโค้ง ปากท่อเบี้ยวและยื่นยาวออกมาข้างหนึ่งซึ่งยาวเท่ากับท่อดอก ส่วนปลายมนมีขนเล็กน้อย ขนาดดอกยาวประมาณ 2 – 2.5 นิ้ว ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกออกบริเวณง่ามใบ
ผล ผลมีรูปลักษณะเป็นรูปกระเช้า เมื่อผลแก่เต็มที่จะแยกออกจากกันเป็นซีก 6 ซีก และก้านผลก็จะแยกออกเป็น 6 เส้น ยาวประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ข้างในซีกที่แยกออกก็จะมีเมล็ด มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้าง 0.5 – 1 ซม. พื้นผิวเมล็ดด้านหนึ่งจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ โคนใบเว้าหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม พื้นผิวและริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2 – 5 นิ้ว ยาวประมาณ 3 – 10 นิ้ว ก้านใบยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้น ๆ ช่อหนึ่งมี 1 – 2 ดอก ดอกมีลักษณะขนาดเล็ก กลีบดอกมีอยู่ชั้นเดียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดท่อโค้ง ปากท่อเบี้ยวและยื่นยาวออกมาข้างหนึ่งซึ่งยาวเท่ากับท่อดอก ส่วนปลายมนมีขนเล็กน้อย ขนาดดอกยาวประมาณ 2 – 2.5 นิ้ว ดอกมีใบประดับเป็นรูปขอบขนาน ดอกมีกลิ่นเหม็น ดอกออกบริเวณง่ามใบ
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีรูปลักษณะเป็นรูปกระเช้า เมื่อผลแก่เต็มที่จะแยกออกจากกันเป็นซีก 6 ซีก และก้านผลก็จะแยกออกเป็น 6 เส้น ยาวประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ข้างในซีกที่แยกออกก็จะมีเมล็ด มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้าง 0.5 – 1 ซม. พื้นผิวเมล็ดด้านหนึ่งจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุกรับประทานได้, ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อน แกงหรือนึ่งรับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือนำไปลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
- เปลือกต้น ลอกออกแล้วใช้เส้นใยสานสวิงได้เหมือนเส้นใยเพียด(ลั้วะ)
- ลำต้น นำมาต้มให้เด็กที่มีอาการไม่สบายอาบ(คนเมือง)
ใบ ต้มน้ำดื่มบรรเทาอาการปวดเอวหรืออาจทุบแล้วใช้ประคบเอวก็ได้(ม้ง)
- ลำต้น นำมาต้มแล้วใช้น้ำกิน เป็นยาทำให้ธาตุปกติ
ใบ นำมาเผาให้ร้อนแล้วให้เอาวางนาบไว้ตามแขนหรือบนหน้าท้อง ใช้แก้อาการปวดบวมได้เมื่อนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำไปพอกภายนอก แก้โรคผิวหนัง ลดไข้[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|