ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา -
-
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ MORACEAE
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์
 
  ชื่อไทย สะแล
 
  ชื่อท้องถิ่น สะแล สาแล
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ สะแลเป็นไม้เลื้อย พบในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะในภาคเหนือของไทย ชาวบ้านทางเหนือเล่าว่า สะแลมี 2 ชนิด คือ สะแลสร้อย และสะแลป้อม ทุกส่วนของต้นมีลักษณะเหมือนกันต่างกันที่ลักษณะการออกลูก สะแลสร้อยจะออกลูกเป็นลูกเดี่ยว ส่วนสะแลป้อมจะออกลูกเป็นช่อ แต่ละช่อมีหลายลูก ลูกมีลักษณะเหมือนกันชาวบ้านเก็บลูกขายจะเก็บปนกันทั้งสองชนิด สะแลมีลำต้นเป็นเถาเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากกิ่ง ออกตรงข้ามกัน ใบสีเขียว ด้านหลังใบเขียวอ่อนกว่าหน้าใบเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือมีหยักเล็ก ๆ โดยเฉพาะปลายใบมักหยักเล็กน้อย ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ก้านใบยาว 1 - 1.3 ซม. ใบกว้าง 4.5 - 5.8 ซม. ใบยาว 8.5 - 12.7 ซม. ดอก สะแลจะออกตามกิ่ง ดอกมีสีเขียว ก้านดอกสั้น ดอกมีรูปร่างทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 - 7 มม. ก้านหนึ่งอาจมีลูกเดียวหรือหลายลูก
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ ดอกสะแลใช้เป็นผัก ออกดอกในฤดูร้อน ราวเดือนมีนาคม - เมษายน ในท้องตลาดทางภาคเหนือมักพบดอกสะแลจำหน่ายในฤดูกาลดังกล่าว
 
  อ้างอิง -
 
  สภาพนิเวศ สะแลขยายพันธุ์ได้โดยการปักชำ โดยนำกิ่งแก่มาปักชำและเมื่อออกรากแล้วนำไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง