|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Sugar palm
|
Sugar palm
Arenga pinnata (Wurmb) Merr. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Arecaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Arenga pinnata (Wurmb) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ตาว, ต๋าว, ลูกชิด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ต๋งล้าง(ม้ง), ต่าว(เมี่ยน,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง), หมึ่กล่าง(ลั้วะ), ต่ะดึ๊(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต๋าวเป็นไม้ยืนต้นอายุยืน เป็นพืชขนาดใหญ่ตระกูลปาล์ม |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายมนและแหลม โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบ ผิวหนา หลังใบสีอ่อน |
|
|
ดอก |
ช่อดอกเชิงลดขนาดใหญ่ออกตามซอกใบห้อยยาวลงได้มากกว่า 2 เมตร |
|
|
ผล |
ผลกลุ่มรูปไข่สีเขียว ผลแก่สีเหลืองและดำ เมล็ดสีขาวขุ่น ลักษณะนิ่มและอ่อน แต่ละผลมี 2-3 เมล็ด ต้นต๋าวให้ผลช่วงอายุ 15-20 ปี ส่วนใหญ่ให้ผลครั้งเดียว มากที่สุดไม่เกิน 4 ครั้ง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หน่ออ่อนและเนื้อในเมล็ดกินได้ (เมล็ดขัดเหลือ endosperms จำหน่ายเป็นลูกชิด)(ม้ง)
แกนในลำต้นอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง, เนื้อในเมล็ด ต้มหรือเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน(เมี่ยน)
ยอดอ่อน นึ่งกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง(ลั้วะ)
แกนในลำต้น นำไปประกอบอาหารเช่น แกงใส่ไก่ หรือหมู (ขมุ,ไทลื้อ)
หน่ออ่อน และเนื้อข้างในลำต้น ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือใส่ข้าวเบือน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
เนื้อในเมล็ด นำมาเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน, แกนใน ลำต้นอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง ริมแม่น้ำลำธาร ตามโขดหิน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|