|
วงศ์ |
Leguminoceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Archidendron jiringa (Jack) I.C.Nielsen |
|
|
ชื่อไทย |
ชะเนียง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กะเนียง,กะนิซะ (กะเหรี่ยง),มะตึ่งยาง |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลปนเทา
|
|
|
ใบ |
ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านช่อใบยาว 1.5-8 เซนติเมตร ที่ปลายก้านช่อมีช่อใบ ลักษณะเป็นแบบแตกแขนงด้านข้าง 1 คู่ ติดตรงกันข้าม แต่ละช่อมีใบย่อย 2-4 คู่ ขึ้นตรงข้าม ใบย่อยรูปมนขนาดแตกต่างกัน ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบมนและเบี้ยวเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยง ยอดอ่อนมีสีแดง |
|
|
ดอก |
ดอกสีขาวขนาดเล็ก 3-6 ดอก ออกเป็นช่อกลมเล็กๆ ซึ่งแตกแขนงมาจากช่อใหญ่ยาว 7-18 เซนติเมตร ช่อดอกโปร่งแตกตามง่ามใบของใบแก่ที่หลุดร่วงไปแล้ว กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาดเล็กมาก โคนกลีบดอกติดกันเป็นลักษณะหลอดยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เกสรตัวผู้จำนวนมาก ยื่นออกมาเป็นพู่เหนือส่วนอื่นๆ ของดอก |
|
|
ผล |
ฝัก มีลักษณะแบนยาวรูปไม้บรรทัด มีส่วนคอดเว้าที่ลึกระหว่างเมล็ด กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาว 20-50 เซนติเมตร ตัวฝักบิดเวียนเป็นเกลียวไปทางเดียวกันคล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง รสฝาด เมล็ดมี 2 ฝาประกับกัน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ฝักอ่อน รับประทานเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก นำไปดอง หรือนึ่งกินเป็นอาหารว่าง
- เมล็ดอ่อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้โรคเบาหวาน
- เปลือกฝักใช้ทำสีย้อมผ้า |
|
|
อ้างอิง |
- |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|