|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
-
|
-
Kaempferia marginata Carey |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Zingiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Kaempferia marginata Carey |
|
|
ชื่อไทย |
เปราะป่า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ตูบหมูบ |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เปราะป่าเป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อ
ภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบเป็นใบเดี่ยว แทงขึ้นจากเหง้าใต้ดิน 2-3 ใบแผ่ราบไปตามพื้นดิน หรือวางตัวอยู่ในแนวราบเหนือพื้นดินเล็กน้อย ใบมีรูปร่างค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ป้อม ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย มีขนอ่อนบริเวณท้องใบ บางครั้งอาจพบขอบใบมีสีแดงคล้ำ เนื้อใบค่อนข้างหนา ตัวใบมีขนาดกว้าง 5-10 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบยาว 1-3 เซนติเมตร ดอกออกรวมกันเป็นช่อ ยาว 2-4 เซนติเมตร มี 4-12 ดอก ออกตรงกลางระหว่างใบ ดอกมีสีขาว หรือสีขาวอมชมพูแต้มสีม่วง แต่ประจวบคีรีขันธ์ละดอกมี กลีบประดับ 2 กลีบรองรับอยู่ ซึ่งใบและต้นจะเริ่มแห้งเมื่อมีดอก ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ พบมากทางเหนือ ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน ต้นหนึ่งๆ มักมี 1 – 2 ใบ ใบมีรูปร่างทรงกลมโตยาว ประมาณ 5 – 10 เซนติเมตรหน้าใบเขียว เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง เปราะป่าชอบดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้นเพียงพอ เจริญได้ดีในที่ร่ม ปลูกโดยการใช้เหง้า ช่วงปลูกใหม่ๆ ควรรดน้ำทุกวันจนกว่าจะออกใบอ่อนโผล่เหนือพื้นดิน ถ้าอากาศแห้งแล้งควรรดน้ำให้ด้วย
|
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เปราะป่าใช้เป็นเครื่องเทศและเครื่องยา ใบสดเป็นผักจิ้ม น้ำคั้นจากใบและเหง้าใช้ป้ายคอ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ |
|
|
อ้างอิง |
- |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|