|
วงศ์ |
Menispermaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Arcangelisia flava (L.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ขมิ้นเครือ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ชั้วตั่วเหล่ง(ม้ง) - ขมิ้นฤาษี ฮับ (ภาคใต้) [7] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เลื้อย ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้สีเหลือง และมียางเหลืองเมื่อสับฟัน มีรอยแผลเป็นที่ก้านใบหลุดร่วงไปเป็นรูปถ้วย
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่ รูปไข่แกมรี หรือรูปไข่กว้าง กว้าง (5.5-)8-19 ซม. ยาว (10-)12-15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนกลม ตัดหรือรูปหัวใจเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 1-3 คู่ มักจะออกจากเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบขึ้นไป เมื่อแห้งเห็นเส้นร่างแหไม่ชัดเจน ก้านใบยาว (4-)7-15(-20) ซม. ที่โคนและปลายบวม โคนก้านงอ
ดอก เป็นช่อตามง่ามใบหรือตามลำต้น ยาว 10-15 ซม. แตกกิ่งด้านข้างยาว 1-5 ซม. ดอกแยกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ ไม่มีก้าน หรือมีก้านสั้น มีใบประดับย่อยรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. โคนหนาเห็นชัดกลีบเลี้ยงวงนอกมี 3-4 กลีบ สั้นกว่า 1 มม. วงในใหญ่กว่า รูปรี หรือรูปไข่ ยาว 1.5-2.5 มม. เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ยาว 0.5-1 มม. ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ รูปขอบขนานแคบ ยาว 2.5-4 มม.ปลายโค้ง เกสรเพศผู้ปลอม ขนาดเล็ก คล้ายเกล็ด เกสรเพศเมียมี 3 อัน ยาว 1.5 มม. ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม ผล สด ออกเป็นช่อตามลำดับ มักแตกกิ่งก้าน ยาว (5-)7-30 (-45) ซม. แกนกลางและก้านใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 3-6 มม.
ผล กับก้านผลแตกจากก้านด้านข้างมี 1-3 ผลติดอยู่ด้วยกันบนก้านที่เป็นรูปกระบอง ที่ปลายบวม ยาวถึง 4 ซม. ผลสีเหลือง ค่อนข้างแบน ด้านข้าง รูปกึ่งรูปไข่ตามขวาง ยาว 2.5-3.3 ซม. กว้าง 2.2-3 ซม. หนา 2-2.5 ซม. เมื่อแห้งย่น ขนเกลี้ยงผนังผลชั้นในแข็ง [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่ รูปไข่แกมรี หรือรูปไข่กว้าง กว้าง (5.5-)8-19 ซม. ยาว (10-)12-15 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนกลม ตัดหรือรูปหัวใจเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีเส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ 5 เส้น และมีเส้นแขนงใบ 1-3 คู่ มักจะออกจากเหนือครึ่งหนึ่งของเส้นกลางใบขึ้นไป เมื่อแห้งเห็นเส้นร่างแหไม่ชัดเจน ก้านใบยาว (4-)7-15(-20) ซม. ที่โคนและปลายบวม โคนก้านงอ
|
|
|
ดอก |
ดอก เป็นช่อตามง่ามใบหรือตามลำต้น ยาว 10-15 ซม. แตกกิ่งด้านข้างยาว 1-5 ซม. ดอกแยกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกเพศผู้ ไม่มีก้าน หรือมีก้านสั้น มีใบประดับย่อยรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มม. โคนหนาเห็นชัดกลีบเลี้ยงวงนอกมี 3-4 กลีบ สั้นกว่า 1 มม. วงในใหญ่กว่า รูปรี หรือรูปไข่ ยาว 1.5-2.5 มม. เกสรเพศผู้เชื่อมกัน ยาว 0.5-1 มม. ดอกเพศเมีย กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ รูปขอบขนานแคบ ยาว 2.5-4 มม.ปลายโค้ง เกสรเพศผู้ปลอม ขนาดเล็ก คล้ายเกล็ด เกสรเพศเมียมี 3 อัน ยาว 1.5 มม. ยอดเกสรเพศเมียกว้าง ไม่มีก้าน เป็นตุ่ม ผล สด ออกเป็นช่อตามลำดับ มักแตกกิ่งก้าน ยาว (5-)7-30 (-45) ซม. แกนกลางและก้านใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 3-6 มม.
|
|
|
ผล |
ผล กับก้านผลแตกจากก้านด้านข้างมี 1-3 ผลติดอยู่ด้วยกันบนก้านที่เป็นรูปกระบอง ที่ปลายบวม ยาวถึง 4 ซม. ผลสีเหลือง ค่อนข้างแบน ด้านข้าง รูปกึ่งรูปไข่ตามขวาง ยาว 2.5-3.3 ซม. กว้าง 2.2-3 ซม. หนา 2-2.5 ซม. เมื่อแห้งย่น ขนเกลี้ยงผนังผลชั้นในแข็ง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นำมาทุบแล้วใช้ห่อพันบริเวณที่เอ็นขาดเพื่อช่วยประสานเอ็น(ม้ง)
- สรรพคุณ ใช้กันมากในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ราก ลำต้น น้ำต้มใช้แก้ไข เป็นยาบำรุง ยาขับระดู แก้ปวดท้อง แก้ไอ ลำต้น กิ่งก้าน น้ำต้มแก้โรคดีซ่าน ระบบย่อยอาหารไม่ปกติขูดเนื้อไม้ใช้ล้างแผลพุพอง แผลเรื้อรัง และแก้อาการคัน ยางจากต้นดื่มลดไข้ และแก้โรคเมืองร้อนที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
เมล็ด ใช้เบื่อปลา [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|