|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด
|
โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด
Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Aporosa villosa (Wall. ex Lindl.) Baill. |
|
|
ชื่อไทย |
โลด, เหมือดตบ, เหมือด, เหมือดโลด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น, 8 – 10 ม., ตามยอดอ่อนและกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, เปลือกหนา, แตกเป็นร่องลึกตามยาว.
ใบ รูปขอบขนาน, ขอบขนานป้อม ๆ , จนถึงรูปรีแกมรูปไข่กลับ, กว้าง 6 – 10 ซม., ยาว 10 – 16 ซม.; ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งทู่ ๆ ; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย; โคนใบมนหรือแหลม; เนื้อใบค่อนข้างหนา, ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย, ตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีขน, ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง; ก้านใบยาว 1. 2 – 2.2 ซม., มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ เล็ก, ออกชิดกันเป็นแท่ง, ยาว 2 – 4 ซม., จำนวนหลายช่ออยู่ด้วยกัน, มีใบประดับรูปไข่ป้อม, ปลายแหลม, ด้านนอกและขอบมีขน; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 – 6 กลีบ, ไม่มีกลีบดอก; เกสรผู้มี 2 อัน, อับเรณูแตกตามยาว. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อเช่นเดียวกับดอกเพศผู้, แต่สั้นกว่ามาก, ส่วนใหญ่จะออกเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ; รังไข่มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, ภายในมี 1 ช่อง, มีไข่อ่อน 2 หน่วย, ท่อรังไข่แยกเป็น 2 แฉก.
ผล รูปไข่, ปลายมีติ่งแหลม, มีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น, สีส้ม, กว้างประมาณ 7 มม., ยาว 10 มม., มี 1 เมล็ด, อีก 1 เมล็ดฝ่อ. [6] |
|
|
ใบ |
ใบ รูปขอบขนาน, ขอบขนานป้อม ๆ , จนถึงรูปรีแกมรูปไข่กลับ, กว้าง 6 – 10 ซม., ยาว 10 – 16 ซม.; ปลายใบทู่หรือเป็นติ่งทู่ ๆ ; ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย; โคนใบมนหรือแหลม; เนื้อใบค่อนข้างหนา, ด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนประปราย, ตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบมีขน, ด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง; ก้านใบยาว 1. 2 – 2.2 ซม., มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ เล็ก, ออกชิดกันเป็นแท่ง, ยาว 2 – 4 ซม., จำนวนหลายช่ออยู่ด้วยกัน, มีใบประดับรูปไข่ป้อม, ปลายแหลม, ด้านนอกและขอบมีขน; กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 – 6 กลีบ, ไม่มีกลีบดอก; เกสรผู้มี 2 อัน, อับเรณูแตกตามยาว. ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อเช่นเดียวกับดอกเพศผู้, แต่สั้นกว่ามาก, ส่วนใหญ่จะออกเป็นแท่งเดี่ยว ๆ ; รังไข่มีขนสีน้ำตาลแกมเหลือง, ภายในมี 1 ช่อง, มีไข่อ่อน 2 หน่วย, ท่อรังไข่แยกเป็น 2 แฉก.
|
|
|
ผล |
ผล รูปไข่, ปลายมีติ่งแหลม, มีขนสีน้ำตาลแกมเหลืองหนาแน่น, สีส้ม, กว้างประมาณ 7 มม., ยาว 10 มม., มี 1 เมล็ด, อีก 1 เมล็ดฝ่อ. |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เนื้อหุ้มเมล็ดของผลสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงแดง)
ผล รับประทานได้(กะเหรี่ยง)
- เนื้อไม้ ใช้ทำด้ามค้อน(คนเมือง)
เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านหรือที่พักอาศัยถาวร(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เนื้อไม้ ใช้ทำสากครกตำข้าว (ลั้วะ)
- เนื้อไม้ ใช้ทำที่คนข้าว ที่นึ่งข้าว เพราะเชื่อว่าเนื้อไม้เป็นยา แก้พิษ(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ,คนเมือง,กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[9] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 1. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|