|
วงศ์ |
CELASTRACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Celastrus paniculatus willd. |
|
|
ชื่อไทย |
กระทงลาย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะแตก |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยเนื้อแข็ง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งก้านลู่ลง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. ขอบใบจักมนตื้นและถี่ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ผิวใบเรียบ ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีเขียว ผลแห้ง แตกได้ รูปทรงกลม หรือรูปไข่ เมื่อแก่สีเหลือง มีลักษณะหยักเป็น 3 พู แต่ละพูมี 2 เมล็ด เมล็ดมีเยื่อสีน้ำตาลแดง |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชอาหาร สมุนไพร และพืชใช้สอย ใช้ยอดอ่อนแกงใส่ไข่มดแดง ใช้รากตากแห้งต้มน้ำผสมข้าวเปลือกจ้าว 9 เม็ด ดื่มแก้ปวดท้อง แก้บิด แก้ไข บำรุงน้ำนมสตรีคลอดบุตรใหม่เวลาอยู่ไฟ ในอดีตใช้เมล็ดแก่บีบทำน้ำมันจุดตะเกียง |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง พบทั่วไป แต่พบมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แสงแดดเต็มวัน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|