|
วงศ์ |
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tadehagi triquetrum (L.) H.Ohashi |
|
|
ชื่อไทย |
ข้าวเม่านก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หญ้าคอตุงตัวเมีย |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุก สูง 15-50 ซม. กิ่งก้านเป็นสันสามเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ยอดและกิ่งอ่อนมีสีแดงมัน มีหูใบสีเงินหรือเทาสองข้าง เมื่อแก่สีชา ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 8-10 ซม. หลังใบมีขน ท้องใบผิวเรียบ ก้านใบแผ่เป็นปีก ช่อดอกกระจะ รูปทรงกระบอก ออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกรูปดอกถั่ว สีม่วง ผลเป็นฝักแบนยาว ส่วนหัวมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ส่วนท้ายมีรยางค์ 1 เส้น ลักษณะโค้งงอ ขอบผลเว้าตื้นหนึ่งหรือสองด้าน |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชสมุนไพรและพืชใช้สอย ใช้ใบต้มน้ำดื่มแก้พิษเบื่อพยาธิ แก้โรคตานซาง แก้อาการผอมเหลือง แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยบำรุงประสาท ใช้ใบสดหั่นผสมยาเส้นและปูนขาวมวนบุหรี่สูบ ใช้ตำพอกแผลวัวควาย รักษาแผลมีหนอง ใช้ปิดปากไหหมักปลา เพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่ |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 262 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าทั่วไป ชอบขึ้นบริเวณที่รกร้าง หรือริมทาง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|