|
วงศ์ |
LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Mimosa pudica L. var. hispida Bren. |
|
|
ชื่อไทย |
ไมยราบ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หญ้าปันยอบ หญ้าจิยอบ (ภาคเหนือ), กระทืบยอดระงับ หนามหญ้าราบ (ภาคกลาง), กะหงับ ก้านของหงับพระพาย (ภาคใต้) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย ทอดแผ่ไปตามพื้นดิน ลำต้นมีขนละเอียดและหนามโค้งงอ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ไวต่อการสัมผัส ยาว 10-13 ซม. ประกอบด้วย 4 ใบย่อย เรียงตัวแบบนิ้วมือ ยาว 4.5-8 ซม. ใบย่อย 17-22 คู่ รูปใบหอก กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 10-14 มม. ผิวใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีม่วงอ่อน ช่อดอก รูปทรงกลม ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน เป็นข้อๆ อยู่รวมกันเป็นช่อ เมื่อสุกสีดำ |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชสมุนไพร ใช้รากต้มน้ำดื่มแก้โรคไต แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้ทั้งต้นตากแห้งทำเป็นมัดต้มน้ำดื่มแทนชาช่วยขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ หรือผสมอ้อยดำเพื่อเพิ่มรสชาติให้ดื่มง่าย ใช้เข้าตำรับยาแก้ปัสสาวะขัด แก้ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ใช้รากเข้าตำรับยารักษาโรคกระเพาะ |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 265 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายทั่วไป ในที่โล่งเตียนทั่วไป ชอบพื้นที่แห้งแล้ง แสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|