|
วงศ์ |
POACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bambusa blumeana Schult.f. |
|
|
ชื่อไทย |
ไผ่สีสุก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ไผ่สีสุก |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ลำต้นสูง 10-18 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-12 ซม. แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่มๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวกว่า ลำมีรูเล็กเนื้อหนา ใบมีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนเป็นรูปลิ่มกว้าง หรือตัดตรง แผ่นใบกว้าง 0.8-2 ซม. ยาว 10-20 ซม. ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5-9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก ครีบใบเล็กมีขน ดอกเป็นช่อ ส่วนมากอายุราว 30 ปี จึงจะออกสักหนึ่งครั้ง หน่อมีขนาดใหญ่ มีกาบสีเหลืองห่อหุ้ม ขนที่หน่อเป็นสีน้ำตาล |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชอาหาร สมุนไพร และพืชใช้สอย ใช้หน่อปรุงอาหารประเภทต้ม แกง คั่ว ผัด ยำ ใช้เปลือกกาบหุ้มลำต้นเผาบดละเอียดห่อผ้าขาวบางชงน้ำร้อนดื่มแก้ไข้ ขับเสมหะ แก้หอบหืด ใช้ลำต้นทำเครื่องจักสาน |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นเองตามป่าราบ และบนเขาสูงทั่วไป ชอบดินเหนียวปนทรายหรือดินร่วน ตามริมแม่น้ำที่มีความชื้นไม่ขาดน้ำ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|