|
วงศ์ |
EUPHORBIACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Baliospermum montanum (Willd.) Müll.Arg. |
|
|
ชื่อไทย |
ตองแตก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เปล้าตองแตก |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบที่บริเวณยอดรูปใบหอกหรือรูปวงรี กว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-7 ซม. ใบที่บริเวณโคนต้นมีขอบหยักเว้า 3-5 แฉก รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 7-8 ซม. ยาว 15-18 ซม. ช่อดอก แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือบนช่อเดียวกัน ออกที่ซอกใบ ดอกตัวผู้มีจำนวนมากอยู่ตอนบนของช่อ ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงสีเหลืองแกมเขียว 4-5 กลีบ ดอกตัวเมียออกที่โคนช่อ ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้ มี 3 พู |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชสมุนไพร ใช้น้ำยางจากยอดอ่อนใส่รักษาแผลทั้งสดและเรื้อรัง แผลโรคปากนกกระจอก(หายภายใน 2 วัน) ใช้ใบต้มน้ำดื่มแก้โรคกระเพาะ |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ในป่าเบญจพรรณทั่วไป ชอบดินร่วนปนทราย พื้นที่แห้งแล้ง แสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|