|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Teak
|
Teak
Tectona grandis L.f. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Lamiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tectona grandis L.f. |
|
|
ชื่อไทย |
สัก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เหล่ห่อเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), สัก(คนเมือง,ม้ง), ลำกิด(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 50 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปวงรีกว้าง กว้าง 6-50 ซม. ยาว 11-95 ซม. ช่อดอกขนาดใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ผลสด ค่อนข้างกลม มีขน ละเอียดหนาแน่น หุ้มมิดด้วยกลีบเลี้ยงที่ขยายตัว |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
"- เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฝาบ้าน คาน เสาบ้าน เนื้อไม้ทนทานแข็งแรง(ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแดง,ม้ง,ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน ทำกี่ทอผ้า(คนเมือง)
- ยอดอ่อน ใช้ย้อมผ้า ให้สีม่วงอ่อน(คนเมือง)"
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลาง มีความสูงไม่เกิน 700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา หรือตามพื้นราบที่มีดินระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง โดยเฉพาะดินพวกหินปูน มักขึ้นเป็นกลุ่ม หรือขึ้นปะปนกับไม้อื่นในป่า |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|