|
วงศ์ |
MARANTACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Maranta arundinacea L. var. arundinacea |
|
|
ชื่อไทย |
สาคู |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หัวพระฤๅษี |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน มีกาบใบอ่อนซ้อนกัน เป็นลำต้นเทียมขึ้นมาเหนือดิน ความสูงทรงพุ่มประมาณ 50-80 ซม. เหง้าหน่ออ่อนใต้ดิน มีรูปยาวรีปลายยอดแหลมสีขาวมีข้อปล้อง ใบเดี่ยวรูปรี กว้าง 10-20 ซม. ยาว 20-25 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบขนานม้วนเข้าหากันเล็กน้อย แผ่นใบเรียบสีเขียว รวงช่อดอกยืดยาวเหนือทรงพุ่ม ดอกสีขาวทรงระฆัง มันสาคู มี 2 ชนิดคือมันสาคูธรรมดา และมันสาคูใบลาย |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชอาหารและสมุนไพร ใช้เหง้าต้มกินเป็นอาหารว่าง และแก้ท้องร่วง แก้เสียดท้อง |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 277 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ในธรรมชาติขึ้นใต้ร่มไม้ใหญ่ในป่าเต็งรัง หรือป่ากึ่งป่าเต็งรัง ตามชายบึงหรือลำธาร ทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท แต่ขึ้นได้ดีในดินร่วน ดินร่วนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|