|
วงศ์ |
SMILACACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Smilax corbularia Kunth subsp. corbularia |
|
|
ชื่อไทย |
ข้าวเย็นเหนือ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หัวยาข้าวเย็น หัวข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นวอก (เหนือ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เถา เลื้อยพันต้นไม้อื่น แตกกิ่งก้านสาขาจากโคนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 3.5-6.5 ซม. โคนใบมน ปลายแหลม ขอบเรียบ ผิวใบเรียบมัน ท้องใบสีเขียวสด หลังใบสีเขียวอ่อนปนขาว ช่อดอกกระจุกแน่นออกตามซอกใบ ดอกย่อยรูปทรงกลม สีเหลืองอ่อน ผลกลุ่มออกเป็นกระจุก ผลย่อยเป็นผลสด รูปทรงกลม (ในชุมชนโป่งคำมี 2 ชนิด คือ หัวยาข้าวเย็นยอดขาว และหัวยาข้าวเย็นยอดแดง) |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชอาหารและสมุนไพร ใช้ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก ใช้หัวใต้ดินต้มน้ำให้เด็กอาบแก้อาการตุ่มแดง มีผื่นคัน และถ่ายเหลว หั่นตากแห้งผสมในตำรับยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้นิ่ว แก้ปวดหลังปวดเอว รักษาริดสีดวงทวาร แก้ปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 278 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นในป่าดิบชื้น หรือป่าดิบเขา ทั่วไป มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบดินร่วนชุ่มชื้น มีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|