|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
-
|
-
Curcuma aeruginosa Roxb. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
ZINGIBERACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma aeruginosa Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านมหาเมฆ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ขมิ้นดำ |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง-ข่า เหง้าอยู่ใต้ดิน ใบรูปหอก เส้นกลางใบสีแดง ใบจะโผล่ขึ้นมาในช่วงฤดูฝนหลังจากที่ดอกเริ่มเหี่ยวเฉา และใบจะเริ่มเหี่ยวเฉาช่วงต้นฤดูหนาว ช่อดอกออกจากใจกลางต้น ถ้าต้นอายุมากเหง้าจะมีขนาดใหญ่ช่อดอกก็จะใหญ่ตามไปด้วย ดอกมีใบประดับรูปกรวยเรียงซ้อนกัน ปลายช่อดอกมีสีชมพูถึงแดงเข้ม โคนช่อดอกมีสีเขียวอ่อนถึงเขียว อีกทั้งยังมีดอกเป็นหลอดรูปกรวยขนาดเล็กสีเหลืองบริเวณใบประดับโคนช่อดอก เนื้อในหัวเป็นสีม่วงแก่แกมสีฟ้า ถ้าทิ้งไว้หลายปี จะกลายจากสีม่วงเป็นสีเหลือง |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เป็นพืชสมุนไพร ใช้เหง้าหั่นเป็นแว่นสดหรือตากแห้งต้มน้ำดื่มแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้หืดหอบหายใจไม่ปกติ แก้ไข้ แก้อาเจียน หรือหั่นดองเหล้าดื่มรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง และรักษาอาการท้องร่วงได้ดี ให้สตรีหลังคลอดบุตรดื่มเป็นยารัดมดลูก รักษาอาการปวดและอักเสบมดลูก และเข้าตำรับยาบำรุงกำลัง ขับลม บำรุงร่างกาย |
|
|
อ้างอิง |
อัปสร และคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบได้ตามทุ่งหญ้าและป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|