|
วงศ์ |
MUSACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Musa acuminate Colla |
|
|
ชื่อไทย |
กล้วยป่า |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กล้วยป่า กล้วยลิง กล้วยหม่น กล้วยแดง (ภาคเหนือ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
กล้วยป่าเป็นไม้ล้มลุก มักขึ้นเป็นกลุ่ม ทุกส่วนมียาง มีเหง้าแตกหน่อได้ ลำต้นเทียมขนาดใหญ่ ประกอบด้วยกาบใบที่อัดกันแน่น ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ดอก (หัวปลี) ออกเป็นช่อห้อยลงคล้ายงวง บานจากส่วนโคนลงมาหาปลายช่อปลี ผลกลมโค้งงอ มีเนื้อน้อย สีขาว เมล็ดจํานวนมาก สีดํา ผนังหนาและแข็ง |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
กล้วยป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น หยวกกล้วยนำมาแกงใส่ไก่ กระดูกหมู หรือปลาแห้ง ยำใส่ปลากระป๋อง กินกับน้ำพริกได้ทั้งดิบและสุก หรือนำมาตำกับมดแดง ส่วนหัวปลีนำมาชุบแป้งทอด ห่อนึ่งใส่เนื้อหมู หรือยำกับเนื้อไก่ นอกจากนี้กาบต้นแห้งนำไปขายเพื่อทำกระดาษสา |
|
|
อ้างอิง |
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในดินที่อุ้มน้ำ บริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|