|
วงศ์ |
Clusiaceae (Guttiferae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Garcinia schomburgkiana Pierre. |
|
|
ชื่อไทย |
มะดัน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะดัน |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะดันเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 5-10 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเขียวชอุ่ม มีรัศมีทรงพุ่มประมาณ 4-5 ม. เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ลำต้นตรงมีกิ่งแขนงแตกตั้งฉาก ออกรอบลำต้น ปลายกิ่งโค้งลง กิ่งแขนงมีเปลือกสีเขียวเข้ม |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้าม ใบรูปหอก เนื้อใบหนาและเหนียว ขนาด 2.5-6x9-12 ซม. ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ไม่มีขน บางครั้งออกเป็นคู่หรือช่อ 3 ดอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 กลีบ |
|
|
ดอก |
ดอก ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 3-6 ดอก ตามซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายกลีบดอกมน ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 10-12 อัน |
|
|
ผล |
ผล รูปรีปลายแหลม ผิวเรียบสีเขียว เป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยว เมล็ดมี 3-4 เมล็ด ติดกัน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบและราก เป็นยาดอกเปรี้ยวเค็ม และปรุงเป็นยาต้ม รับประทานแก้กระษัย แก้ระดูเสีย ขับฟอกโลหิต เป็นยาระบายอ่อนๆ ยาสกัดเสมหะในลำคอดี
- ผล เป็นยาสกัดเสมหะในลำคอดี และ เป็นอาหาร |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบตามลำธาร และหนองบึงในป่าดงดิบแล้ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปตามบ้านเรือนหรือสวน พบได้ทุกภาคของประเทศไทย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|