|
วงศ์ |
ANNONACEAE |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Artabotrys siamesis Miq |
|
|
ชื่อไทย |
การะเวก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กระดังงัว กระดังป่า (ราชบุรี), กระดังงาเถา (ใต้), หนามควายนอน (ชลบุรี) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดกลางถึงใหญ่ มีหนามแข็งและยาวตามลำต้น เปลือกต้นสีเทาอมดำ ค่อนข้างเรียบ ลอกดูมีกลิ่นเหม็นเขียว เพราะมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ ยอดอ่อนมีขน |
|
|
ใบ |
เป็นใบเดี่ยวเรียงแบบสลับกัน ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่าและมีขนประปรายตามเส้นกลางใบ |
|
|
ดอก |
ออกดอกเป็นช่อ 1 -5 ดอก ก้านช่อดอกแบนและโค้งคล้ายขอ ออกตรงข้ามกับก้านใบ ดอกอ่อนสีเขียว มีขนมาก ดอกแก่สีเหลือง มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กสีเขียว ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกหนา กลีบดอกรูปไข่หรือรียาว เรียงเป็น 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ |
|
|
ผล |
ผลออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 20 ผล ผลแก่สีเหลือง แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ กลิ่นหอมแรงมากและเริ่มหอมเวลาเย็น แต่ละผลมี 2 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
ใบใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบตามป่าชื้นทั่วๆ ไป ขึ้นได้ดีทุกแห่งที่มีความชื้นพอสมควร การเวกเป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัดในดินทุกสภาพแต่ ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนซุยที่มีธาตุอาหารเพียงพอ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|