|
วงศ์ |
Commelinaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Commelinaceae sp. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านกาบหอย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กาบหอยแครง ว่านหอยแครง (กรุงเทพฯ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก สูง 20-45 ซม. ลำต้นอวบใหญ่ แตกใบรอบเป็นกอ |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงซ้อนเป็นวงรอบ รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียว ท้องใบสีม่วงแดง เนื้อใบหนา |
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยใบประดับสีม่วงปนเขียว รูปหัวใจคล้ายหอยแครง มี 2 กาบ โคนกาบทั้งสองประกบเกยซ้อนและโอยหุ้มดอกสีขาว ดอกสีขาวเล็กอยู่รวมเป็นกระจุก กลีบดอก 3 กลีบ รูปไข่ สีขาว แผ่นกลีบหนา เกสรเพศผู้มี 6 อัน ผล รูปรี กว้าง 2.5-3 มม. ยาว 3.5 มม. มีขนเล็กน้อย |
|
|
ผล |
ผลแก่แตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดเล็ก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไอ อาเจียนเป็นโลหิต แก้ฟกช้ำภายใน เนื่องจากพลัดตกจากที่สูงหรือหกล้มฟาดถูกของแข็ง แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด
- ดอก รสชุ่มเย็น ต้มกับเนื้อหมูรับประทาน ใช้ขับเสมหะ แก้ไอแห้งๆ แก้อาเจียนเป็นโลหิต เลือดกำเดาออก ห้ามเลือด แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ไอเป็นเลือด แก้บิดถ่ายเป็นเลือด
|
|
|
อ้างอิง |
สุนทรี สิงหบุตรา, 2536. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
มีปลูกกันตามบ้านเรือนและตามป่าทั่วไป ป่าเบญจพรรณ ขยายด้วยการแตกหน่อ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|