|
วงศ์ |
Apiaceae ( Labiatae ) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back |
|
|
ชื่อไทย |
ผักแมงลัก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กอมก้อ กอมก้อขาว (ภาคเหนือ), ผักอีตู่ (อีสาน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรง โคนต้นแข็ง สูงประมาณ 40-65 ซ.ม. แตกกิ่งก้าน ทุกส่วนมีกลิ่นหอม |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว สีใบสีนวล ใบมีขนอ่อน ๆ ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ |
|
|
ดอก |
ดอก ช่อออกที่ปลายยอด ช่ออาจเป็นช่อเดี่ยว หรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ ดอกบานจากข้างล่างขึ้นข้างบน กลีบรองดอกจะคงทนและขยายใหญ่ขึ้นเมื่อเป็นผล กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปาก ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านช่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 3 ดอก ดอกตรงกลางจะบานก่อน และช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อน |
|
|
ผล |
ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล ขนาดเล็ก คือเมล็ดแมงลัก รูปร่างรูปรีไข่ สีดำ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
เมล็ด ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยการเพิ่มปริมาตรของกากอาหารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ใบใช้ขับลม |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สุนทรี สิงหบุตรา, 2536. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดีแสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|