|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านธรณีสาร |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เสนียด (กรุงเทพฯ), กระทืบยอบ (ชุมพร) ,ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์) , ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช) , คดทราย (สงขลา) , ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), รุรี (สตูล) , ก้างปลา (นราธิวาส) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีรอยแผลใบชัดเจน |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 0.8-1.3 ซม. ยาว 1.5-2.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบและท้องใบเรียบ สีเขียว |
|
|
ดอก |
ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกตามซอกใบในส่วนของก้านใบ ดอกห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ โคนติดกัน สีม่วงแดง ปลายแหลมมปลายเป็นสีเขียว ขอบจักเป็นฝอย |
|
|
ผล |
ผล รูปทรงกลม สีน้ำตาลอ่อน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
ใบแห้ง ใช้บดเป็นผงแทรกพิมเสน ใช้กวาดคอเด็ก แก้เด็กตัวร้อน แก้พิษตานทรางของเด็กได้ดี และขับลมในลำไส้ |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายบริเวณป่าผลัดใบ ที่ระดับความสูงไม่เกิน 400 ม. |
|
|
เอกสารประกอบ |
|