ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา เพกา, มะลิดไม้
เพกา, มะลิดไม้
Oroxylum indicum (L.) Kurz
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Bignoniaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz
 
  ชื่อไทย เพกา, มะลิดไม้
 
  ชื่อท้องถิ่น ด๊อกกะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เดี่ยงเบียว(เมี่ยน), มะลิดไม้(ไทลื้อ), ไฮ่สะดะซ่าง(ปะหล่อง), ไบร่ซ่าง(ม้ง), แผละ,ลิดไม้,เพี่ยะลางละ(ลั้วะ), ต่าเดเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะลิดไม้,ลิ้นฟ้า(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะลิดไม้เป็น ไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย
 
  ใบ ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาด ใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม.
 
  ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน
 
  ผล ผลเป็นฝักขนาดใหญ่ รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ฝักอ่อน เผาแล้วขูดเปลือกออกกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ผลดิบ ย่างไฟแล้วใช้รับประทานกับลาบ มีรสขม(ปะหล่อง)
ฝัก นำไปเผา แล้วซอยเป็นชิ้นๆเล็กกินกับลาบ, ดอก ลวก กินกับน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปลวก ฝักนำไปเผา กินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ฝักอ่อน เผาไฟกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ฝัก เผาไฟแล้วขูดเปลือกออกใช้กินกับลาบ, ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ฝัก ปิ้งไฟแล้วใช้รับประทานกับน้ำพริก เปลือกต้น ขูดใส่ ลาบ (ม้ง)
- ตำผสมกับหญ้าเอ็นยืด (ด่อยางยืด) และไพล (หัวหม่ะสะล่าง) ใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดเมื่อย(ปะหล่อง)
เปลือกต้น ปิ้งไฟ นำไปฝนใส่น้ำ แล้วดื่มน้ำแก้ไข้ตัวร้อน(คนเมือง)
- เปลือกต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปต้มรวมกับฝ้าย ใช้ย้อมผ้า ให้สีเขียวขี้ม้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ไทลื้อ)
เปลือกต้น ใช้เป็นสีย้อมธรรมชาติให้สีเขียวอ่อนเปลือกต้น (ปะหล่อง)
- ฝัก เผาไฟแล้วกินเป็นผักจิ้มหรือเผาจนเป็นถ่านแล้วใช้ ผสมแป้งทำขนมดำ(ขนมเปียกปูน)ใช้ในพิธีตานขัวหรือใช้กินเล่น(เมี่ยน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ขึ้นได้ทั่วไปตามธรรมชาติ พบตั้งแต่ที่ราบเชิงเขา หุบเขา ริมห้วย ลำธาร หนองบึง ตามท้องทุ่ง ริมทาง ตลอดจนป่าละเมาะทั่วไป
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง