|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
เพกา, มะลิดไม้
|
เพกา, มะลิดไม้
Oroxylum indicum (L.) Kurz |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Bignoniaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Oroxylum indicum (L.) Kurz |
|
|
ชื่อไทย |
เพกา, มะลิดไม้ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด๊อกกะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เดี่ยงเบียว(เมี่ยน), มะลิดไม้(ไทลื้อ), ไฮ่สะดะซ่าง(ปะหล่อง), ไบร่ซ่าง(ม้ง), แผละ,ลิดไม้,เพี่ยะลางละ(ลั้วะ), ต่าเดเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), มะลิดไม้,ลิ้นฟ้า(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะลิดไม้เป็น ไม้ยืนต้น สูง 3-12 เมตร แตกกิ่งก้านน้อย |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น ขนาด ใหญ่ เรียงตรงข้ามรวมกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกย่อยขนาดใหญ่กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดง หนาย่น บานกลางคืน |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักขนาดใหญ่ รูปดาบ เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดแบน สีขาว มีปีกบางโปร่งแสง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ฝักอ่อน เผาแล้วขูดเปลือกออกกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ผลดิบ ย่างไฟแล้วใช้รับประทานกับลาบ มีรสขม(ปะหล่อง)
ฝัก นำไปเผา แล้วซอยเป็นชิ้นๆเล็กกินกับลาบ, ดอก ลวก กินกับน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปลวก ฝักนำไปเผา กินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
ฝักอ่อน เผาไฟกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ฝัก เผาไฟแล้วขูดเปลือกออกใช้กินกับลาบ, ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ฝัก ปิ้งไฟแล้วใช้รับประทานกับน้ำพริก เปลือกต้น ขูดใส่ ลาบ (ม้ง)
- ตำผสมกับหญ้าเอ็นยืด (ด่อยางยืด) และไพล (หัวหม่ะสะล่าง) ใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดเมื่อย(ปะหล่อง)
เปลือกต้น ปิ้งไฟ นำไปฝนใส่น้ำ แล้วดื่มน้ำแก้ไข้ตัวร้อน(คนเมือง)
- เปลือกต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปต้มรวมกับฝ้าย ใช้ย้อมผ้า ให้สีเขียวขี้ม้า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,ไทลื้อ)
เปลือกต้น ใช้เป็นสีย้อมธรรมชาติให้สีเขียวอ่อนเปลือกต้น (ปะหล่อง)
- ฝัก เผาไฟแล้วกินเป็นผักจิ้มหรือเผาจนเป็นถ่านแล้วใช้ ผสมแป้งทำขนมดำ(ขนมเปียกปูน)ใช้ในพิธีตานขัวหรือใช้กินเล่น(เมี่ยน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นได้ทั่วไปตามธรรมชาติ พบตั้งแต่ที่ราบเชิงเขา หุบเขา ริมห้วย ลำธาร หนองบึง ตามท้องทุ่ง ริมทาง ตลอดจนป่าละเมาะทั่วไป |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|