|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Smooth loofah
|
Smooth loofah
Luffa cylindrica (L.) M. Roem. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Cucurbitaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Luffa cylindrica (L.) M. Roem. |
|
|
ชื่อไทย |
บวบหอม, บวบกลม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ตะโก๊ะสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เบล่จูจ้า(ปะหล่อง), บวบ(คนเมือง), เล่ยเซ(เมี่ยน), เต้าหยัวเยี่ยะ(ม้ง) - กะตอร่อ (มลายู – ปัตตานี); บวบกลม, บวบขม (กลาง); บวมอ้ม, มะนอยขม, มะนอยอ้ม (เหนือ)[6] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถา, มีอายุเพียงปีเดียว; ลำต้นและกิ่งก้านมีขน, ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อแก่; ตามข้อมีมือเกาะเป็นเส้นยาว, มักแยกเป็น 3 แขนง.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, มีขนาดกว้างและยาว 12 – 20 ซม., ปลายใบแหลม, ขอบใบหยักเล็กน้อย, มีรอยเว้าลึกเป็น 5 แฉก, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ; ก้านใบยาว 6 – 10 ซม., เป็นเหลี่ยม.
ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน, ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ. ดอกเพศผู้ เป็นช่อ, ยาว 10 – 15 ซม., ก้านดอกยาว 1 – 2 ซม.; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ , ปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ , เรียงยาว, 5 กลีบ, มีขน; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่กลับหรือรูปรี, สีเหลืองหรือเหลืองอ่อน, ขอบกลีบมีรอยย่นเป็นคลื่น, ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 – 5 ซม., กลีบมีขนาดกว้าง 1 – 1.5 ซม., ยาว 2 – 3 ซม.; เกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูมีจำนวนช่องไม่เท่ากัน คือ อับเรณูที่มี 1 ช่อง 1 อัน และ 2 ช่อง 2 อัน. ดอกเพศเมีย มักออกเป็นดอกเดี่ยว, ก้านดอกยาว 1 – 7 ซม.; กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รังไข่รูปทรงกระบอก, อยู่ต่ำกว่ากลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, ภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนเรียงตามแนวยาวจำนวนมาก; ท่อรังไข่ กลมสั้น, ปลายแยกเป็น 3 แฉก.
ผล รูปทรงกระบอก, เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 10 ซม., ยาว 15 – 30 ซม., ปลายผลมีรอยของกลีบรองกลีบดอกเหลืออยู่; ผลอ่อนสีเขียว มีลายสีเขียวแก่, ผลแก่สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวเข้มปนเทา; เนื้อในมีเส้นใยเหนียวเป็นร่างแห. เมล็ด รูปรี, แบน, กว้าง 6 – 8 มม., ยาว 1.2 – 1.5 ซม., เมื่อแก่สีดำ. [6] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, มีขนาดกว้างและยาว 12 – 20 ซม., ปลายใบแหลม, ขอบใบหยักเล็กน้อย, มีรอยเว้าลึกเป็น 5 แฉก, โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ; ก้านใบยาว 6 – 10 ซม., เป็นเหลี่ยม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน, ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ. ดอกเพศผู้ เป็นช่อ, ยาว 10 – 15 ซม., ก้านดอกยาว 1 – 2 ซม.; กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ , ปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ , เรียงยาว, 5 กลีบ, มีขน; กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่กลับหรือรูปรี, สีเหลืองหรือเหลืองอ่อน, ขอบกลีบมีรอยย่นเป็นคลื่น, ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 – 5 ซม., กลีบมีขนาดกว้าง 1 – 1.5 ซม., ยาว 2 – 3 ซม.; เกสรผู้ 3 อัน, อับเรณูมีจำนวนช่องไม่เท่ากัน คือ อับเรณูที่มี 1 ช่อง 1 อัน และ 2 ช่อง 2 อัน. ดอกเพศเมีย มักออกเป็นดอกเดี่ยว, ก้านดอกยาว 1 – 7 ซม.; กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้; รังไข่รูปทรงกระบอก, อยู่ต่ำกว่ากลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก, ภายในมี 3 ช่อง, มีไข่อ่อนเรียงตามแนวยาวจำนวนมาก; ท่อรังไข่ กลมสั้น, ปลายแยกเป็น 3 แฉก.
|
|
|
ผล |
ผล รูปทรงกระบอก, เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 10 ซม., ยาว 15 – 30 ซม., ปลายผลมีรอยของกลีบรองกลีบดอกเหลืออยู่; ผลอ่อนสีเขียว มีลายสีเขียวแก่, ผลแก่สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวเข้มปนเทา; เนื้อในมีเส้นใยเหนียวเป็นร่างแห. เมล็ด รูปรี, แบน, กว้าง 6 – 8 มม., ยาว 1.2 – 1.5 ซม., เมื่อแก่สีดำ. [6] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนและผลอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง ผัด หรือลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ปะหล่อง)
ผลอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง(ม้ง)
- เส้นใย ใช้ล้างถ้วยจาน(ม้ง)
ใย เอามาขัดตัวหรือใช้ล้างจาน(เมี่ยน)
ผลแก่ ใยเอาไปขัดหม้อ หรือขัดถูตัว(กะเหรี่ยง)
- ใยบวบ ใช้รองหม้อนึ่งข้าว และขัดหม้อ(ปะหล่อง,คนเมือง)
- ราก น้ำต้มราก, กินเป็นยาระบาย
ใบ ใบอ่อนกินได้, น้ำคั้นใบสด, เป็นยาขับระดู, ฟอกเลือด, ส่วนน้ำต้มใบ, ใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะอื่น ๆ , ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะเป็นเลือด ; ตำเป็นยาพอก, แก้อาการบวมอักเสบและฝี
ผล ผลอ่อนกินได้ เป็นยาระบาย, ขับลม, ขับน้ำนม และแก้อาการเลือดออกตามทางเดินอาหาร และจากกระเพาะปัสสาวะ
เมล็ด กินเป็นยาทำให้อาเจียน และเป็นยาระบาย [6]
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|