|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่
|
หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่
Lygodium flexuosum (L.) Sw. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Schizaeaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Lygodium flexuosum (L.) Sw. |
|
|
ชื่อไทย |
หญ้ายายเภา, ลิเภาใหญ่ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เต่วีเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), บ่ะกูดงอ(ลั้วะ), ผักกูดก๊อง(คนเมือง), กูดงอ(ไทลื้อ), ด่อวาเบรียง(ปะหล่อง), กูดก๊อง(คนเมือง) บะฮวาล กูดงอ(ลั้วะ), กิ๊โก่หล่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กะราวาหระ(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
หญ้ายายเภา เป็นไม้เถามีเหง้าสั้นอยู่ในดิน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม |
|
|
ใบ |
มีใบประกอบ 5 ชั้น ก้านใบชั้นแรกยาวได้มากกว่า 50 ซม. โคนก้านสีน้ำตาลมีขนปกคลุม แกนกลางใบหรือก้านใบชั้นที่ 2 มีครีบสันตลอดความยาว มีขนปกคลุม แกนย่อยชั้นแรกหรือก้านใบชั้นที่ 3 ยาว 5 มม. มีขนปกคลุมและขนชี้ลง ก้านใบชั้นที่ 4 เป็นใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม ปลายแหลม กว้าง 7-12 ซม. ยาว 10-25 ซม. ก้านใบชั้นที่ 5 เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 แฉก หรือใบเดี่ยว โคนของแฉกเว้าแบบหัวใจ ขนาดใบกว้าง 2.5 ซม. ยาว 15 ซม. ปลายแหลม ขอบใบจักซี่ฟัน เป็นครีบสันมีขนประปราย ที่โคนและก้านใบไม่มีข้อต่อที่จุดเชื่อม แผ่นใบบางและเรียบ อับสปอร์เกิดที่ส่วนติ่งยื่นออกจากขอบใบย่อยชั้นสุดท้าย |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนนำไป ประกอบอาหาร เช่น แกง(ลั้วะ,ไทลื้อ)
ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ,กะเหรี่ยงแดง)
ยอดอ่อน นึ่งกินกับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารเช่น แกง ผัด(ขมุ,คนเมือง,ปะหล่อง)
- ใบ ขยี้แล้วใส่แผลสด ช่วยให้แผลแห้งและหายเร็วขึ้น(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ ขยี้พอกแผล ช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแดง)
ส่วนใต้ดิน ต้มเป็นยาห่มแก้พิษจากสุนัขกัด แก้ปวด แก้อาการจากพิษ ช่วยแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว(คนเมือง)
ราก นำไปต้มน้ำดื่มรักษาโรคนิ่วและริดสีดวง ทวาร(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|