|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก
|
ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก
Macaranga denticulata (Blume) Muell. Arg. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Macaranga denticulata (Blume) Muell. Arg. |
|
|
ชื่อไทย |
ตองแตบ, ปอหูช้างใบเล็ก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ตุ๊ดรึถาก(ขมุ), ไฮ่อึ่งบ่าย(ปะหล่อง), ลำด้าก(ลั้วะ), ปะด่ะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองม่อม(ไทใหญ่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนานุ่ม |
|
|
ใบ |
ใบมีหูใบรูปใบหอก มีขนนุ่มหนาแน่น ร่วงง่าย ก้านใบยาว 5-20 ซม. แผ่นใบรูปคล้ายสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ หรือรูปไข่กว้าง ยาว 12-30 ซม. กว้าง 11-28 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนาจนถึงหนา ผิวใบมีขนและมีต่อม ปลายใบแหลม ขอบใบค่อนข้างเรียบ ฐานใบมน |
|
|
ดอก |
ดอก เป็นดอกแยกเพศ ช่อดอกเพศเมียมีขนหนานุ่ม ใบประดับรูปขอบขนานหรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบ ดอกย่อยเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยงเป็นรูปถ้วย มี 2 พู |
|
|
ผล |
ผลมีก้าน เป็นผลแบบแคปซูลมี 2 พู เส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 มม. มีขนต่อมหนาแน่น |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ) - ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ,ลั้วะ,ไทใหญ่) ใบ ใช้ห่อข้าว(ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ใบ ใช้ห่อถั่วเน่า(ไทใหญ่)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|