|
วงศ์ |
Myrsinaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Maesa montana A.DC. |
|
|
ชื่อไทย |
กำลังช้างสาร, ข้าวสารหลวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ลำคริก(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 4 ม. |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ หรือเวียนรอบ รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 3-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายแหลมมาก โคนแหลม ขอบจักฟันเลื่อย หรือหยักซี่ฟัน เส้นแขนงใบข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกตามง่ามใบ และบริเวณเหนือรอยแผลใบ ยาว 1-5 ซม. ก้านดอกยาว 1-2 มม. โคนก้าน และปลายก้านดอกมีใบประดับรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม เล็กมาก กลีบเลี้ยงโคนติดกัน ปลายหยัก 5 หยัก รูปไข่ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ 1 มม. ปลายหยัก 5 หยัก ค่อนข้างกลม เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นติดแนบที่โคนกลีบดอก อับเรณูเล็กมาก รังไข่ส่วนล่างอยู่ในถ้วยกลีบเลี้ยง และส่วนบนสูงกว่าวงกลีบเลี้ยงเล็กน้อย |
|
|
ผล |
ผลค่อนข้างรี หรือเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มม. ปลายผลมีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ เมล็ดเล็กมาก และมีจำนวนมาก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
http://www.rspg.or.th/plants_data/plantdat/myrsinac/mmonta_2.htm |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|