|
วงศ์ |
Marattiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Angiopteris evecta (G.Forst) Hoffm. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านกีบแรด, กีบม้าลม, เฟิร์นกีบแรด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
โด่คเว่โข่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ว่านกีบแรด(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ขนาดเล็กลงหัว ลำต้นมีความสูงประมาณ .50 – 1 เมตร
ใบ จะมีเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่เล็กเรียวยาวประมาณ 5 ถึง 15 ซม. และกว้างประมาณ 1.5 – 3 ซม. แต่ถ้ามองดูไกล ๆ จะมีลักษณะคล้ายปรงป่ามาก ก้านใบยาว
หัว จะมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแก่ แต่ถ้าหักหัวดูภายในเป็นสีเหลืองเหมือนขมิ้น และมีรสเย็นฝาด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ จะมีเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่เล็กเรียวยาวประมาณ 5 ถึง 15 ซม. และกว้างประมาณ 1.5 – 3 ซม. แต่ถ้ามองดูไกล ๆ จะมีลักษณะคล้ายปรงป่ามาก ก้านใบยาว
|
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
หัว จะมีลักษณะคล้ายกับกีบเท้าของแรดหรือกระบือ หัวนั้นจะเป็นสีน้ำตาลแก่ แต่ถ้าหักหัวดูภายในเป็นสีเหลืองเหมือนขมิ้น และมีรสเย็นฝาด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- โคนก้านใบ ที่อยู่ใต้ดิน ต้มน้ำดื่มแก้อาการตัวบวม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
เหง้า สับแล้วตากแห้ง แล้วนำมาบดผสมน้ำผี้งเดือนห้า พริกไทย ดีปลี ปั้นเป็นลูกกลอนรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
ยอดอ่อน ทุบแล้วนำไปต้ม เอามาประคบหัวเข่า แก้อาการปวด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ใช้ใบแก่และสด ๆ รักษาอาการไอ นอกจากนี้ใบอ่อน ๆ ยังใช้เป็นผักกินได้
หัว ใช้กินรักษาอาการไข้ ปรุงเป็นยารักษาพิษตานซางของเด็ก อาการอาเจียน เป็นยาสมานรักษาอาการท้องร่วง ส่วนมากจะใช้คู่กันไปกับว่านร่อนทอง
ราก ใช้ห้ามเลือด[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในบริเวณริมห้วยตามภูเขาสูงทางภาคเหนือ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|