ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Mango tree - Mango Tree [1]
Mango tree - Mango Tree [1]
Mangifera indica L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Anacardiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica L.
 
  ชื่อไทย มะม่วง
 
  ชื่อท้องถิ่น ตะเคาะซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), จ๋องบั่วะ(ม้ง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ - ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของต้นจะมีสีน้ำตาลมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวขงลำต้น
ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมน เนื้อใบค่อนข้างจะหนา
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวลๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก
ผล เมื่อดอกโรยก็จะติดผล มีลักษณะต่างกันแล้วแต่ละพันธุ์เช่นบางทีมีเป็นรูปมนรี ยาวรี หรือเป็นรูปกลมป้อม ผลอ่อนมีเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว [1]
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ ผล รับประทานได้(คนเมือง,ม้ง,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เปลือกลำต้น ใช้เปลือกลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้โรคคอตีบ แก้เยื่อปากอักเสบ เยื่อเมือกในจมูกอักเสบหรือใช้สวนล้างช่องคลอดแก้อาการตกขาว ใบ ใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง แก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้อืดแน่น หรือใช้ใบสดบดให้ละเอียดพอกบริเวณแผลสดหรือใช้ล้างบาดแผล ผล ใช้ผลสด นำมากินเป็นยาแก้คลื่นไส้ อาเจียนวิงเวียน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้บิดถ่ายเป็นเลือดและใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร เมล็ดใช้เมล็ดสดประมาณ 2-3 เม็ด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม แก้ท้องร่วง แก้บิดเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ตกขาว ตกเลือด ท้องอืด แก้คลื่นไส้ และแก้ไอ [1]
- มะม่วงเป็นพรรณไม้ใหญ่ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลืองอ่อนนอกจากใช้เป็นสมุนไพรแล้ว ยังใช้ก่อสร้างตกแต่งภายในบ้าน หรือใช้ทำหีบกล่องได้ [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง