|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Cassava, Manioc, Tapioca
|
Cassava, Manioc, Tapioca
Manihot esculenta Crantz |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Manihot esculenta Crantz |
|
|
ชื่อไทย |
มันสำปะหลัง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ต้าง(ไทลื้อ), โคร่เซาะ(กะเหรี่ยงแดง), ลำหม่อน,ไคว่ต้น(ลั้วะ), กวายฮ่อ(ขมุ), หน่วยเซ่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ก๋อนต้ง(ม้ง), หน้อยซิ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) , ต้าง(คนเมือง), ม่ะหนิ่ว(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม สูง 1 – 5 ม., ลำต้นมีรอยแผลใบ, ทุกส่วนถ้าสับจะมียางขาวไหลออกมา; รากเป็นที่สะสมอาหาร, มี 5 – 10 ราก, รากที่สะสมอาหารมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 15 ซม., ยาว 15 – 100 ซม.
ใบ เดี่ยว, เรียงแบบบันไดเวียน, เป็นแฉกลึก ๆ 3 – 9 แฉก, แฉกรูปไข่กลับแกมรูปหอก, กว้าง 1 – 6 ซม., ยาว 4 – 20 ซม., ปลายใบแหลม; ขอบใบเรียบ; โคนใบสอบแคบ; ด้านบนเกลี้ยง, บางทีมีสีแดง, ด้านล่างสีขาวนวล, อาจมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ; หูใบมักจะเป็นแฉกรูปหอก 3 – 5 แฉก, ยาวประมาณ 1 ซม., ร่วงง่าย; ก้านใบยาว 5 – 30 ซม., สีเขียวถึงแดงเข้ม.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด, ยาว 3 – 10 ซม., ใบประดับรูปยาวแคบ, ร่วงง่าย, ดอกแยก เพศแต่อยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 0.5 – 1.0 ซม.; กลีบรองกลีบดอกยาว 3 – 8 มม., เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, ปลายแยกเป็นแฉกสามเหลี่ยม 5 แฉก; เกสรผู้ 10 อัน, เรียงเป็น 2 วง, สั้น และยาวสลับกัน, ก้านเกสรไม่ติดกัน, อับเรณูมีขนาดเล็ก. ดอกเพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้, ก้านดอกยาว 1 – 2.5 ซม.; กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ติดกันที่โคนเพียงเล็กน้อย, ยาวประมาณ 1 ซม.; รังไข่มีสัน 6 สัน, ไม่มีขน, ยาว 3 – 4 มม., ท่อรังไข่เชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 กลุ่ม, แต่ละกลุ่มแยกเป็นแขนงเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกจำนวนมาก.
ผล กลม, มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม., เกลี้ยง, มีปีกแคบ ๆ ตามยาว. เมล็ด รี, ยาวประมาณ 12 มม. [6]
|
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว, เรียงแบบบันไดเวียน, เป็นแฉกลึก ๆ 3 – 9 แฉก, แฉกรูปไข่กลับแกมรูปหอก, กว้าง 1 – 6 ซม., ยาว 4 – 20 ซม., ปลายใบแหลม; ขอบใบเรียบ; โคนใบสอบแคบ; ด้านบนเกลี้ยง, บางทีมีสีแดง, ด้านล่างสีขาวนวล, อาจมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ; หูใบมักจะเป็นแฉกรูปหอก 3 – 5 แฉก, ยาวประมาณ 1 ซม., ร่วงง่าย; ก้านใบยาว 5 – 30 ซม., สีเขียวถึงแดงเข้ม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด, ยาว 3 – 10 ซม., ใบประดับรูปยาวแคบ, ร่วงง่าย, ดอกแยก เพศแต่อยู่บนช่อเดียวกัน. ดอกเพศผู้ ก้านดอกยาว 0.5 – 1.0 ซม.; กลีบรองกลีบดอกยาว 3 – 8 มม., เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง, ปลายแยกเป็นแฉกสามเหลี่ยม 5 แฉก; เกสรผู้ 10 อัน, เรียงเป็น 2 วง, สั้น และยาวสลับกัน, ก้านเกสรไม่ติดกัน, อับเรณูมีขนาดเล็ก. ดอกเพศเมีย มีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้, ก้านดอกยาว 1 – 2.5 ซม.; กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ติดกันที่โคนเพียงเล็กน้อย, ยาวประมาณ 1 ซม.; รังไข่มีสัน 6 สัน, ไม่มีขน, ยาว 3 – 4 มม., ท่อรังไข่เชื่อมติดกัน, ปลายแยกเป็น 3 กลุ่ม, แต่ละกลุ่มแยกเป็นแขนงเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกจำนวนมาก.
|
|
|
ผล |
ผล กลม, มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม., เกลี้ยง, มีปีกแคบ ๆ ตามยาว. เมล็ด รี, ยาวประมาณ 12 มม. [6]
|
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก, หัวใต้ดิน นำไปนึ่งรับประทาน(ไทลื้อ,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ลั้วะ,ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแดง,คนเมือง,ขมุ)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและใบ นำมาลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ม้ง)
หัวใต้ดิน นำไปต้มรับประทาน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- หัวใต้ดิน ใช้ทำแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งใช้ปรุงอาหาร, ทำเบียร์, เตรียม glucose และ dextrine, ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเม็ดยา, เป็นอาหารสัตว์ และใช้ผลิต ethanol
ใบ ใบอ่อนต้มให้สุกกินได้, แก้โรคขาดวิตามินบี 1 [6] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในที่โล่ง ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|