|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
จุกนารี, โคลงเคลง
|
จุกนารี, โคลงเคลง
Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex Ker Gawl. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Melastomataceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex Ker Gawl. |
|
|
ชื่อไทย |
จุกนารี, โคลงเคลง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
บ่าอ้า(คนเมือง), ไม้พารา(ไทใหญ่), กะหละเอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), สะหล่าเปล(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก กิ่งก้านเป็นเหลี่ยม มีขนปกคลุม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่แกมรูปใบหอก โคนใบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนแข็งปกคลุมทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีอย่างละ 4 กลีบ อับเรณูเรียวยาวปลายเป็นจะงอยรูปตัวเอส (S) ผลแบบแคปซูล รูปคนโฑ มีเมล็ดเป็นจำนวนมาก |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดหลังปวดเอวและโรคริดสีดวง(คนเมือง)
ทั้งต้น ใช้เข้ายาสารพัดโรค(ไทใหญ่)
กิ่งและราก เข้ายาแก้อาการท้องเสียร่วมกับมะจั่วบิ๊ พอแว และ กะเชบอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า และสันเขาที่ชื้นแฉะ สามารถพบได้จนถึงระดับความสูง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|