ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตองกาย
ตองกาย
Molineria capitulata (Lour.) Herb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Hypoxidaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Molineria capitulata (Lour.) Herb.
 
  ชื่อไทย ตองกาย
 
  ชื่อท้องถิ่น - ด่อกะเต้าว(ปะหล่อง), ฟล่าน(ลั้วะ) - ตองกาย (เชียงราย) แจวแมว ขวานหน้าลอง (เชียงใหม่), plam grass [10]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก อายุหลายปี สูงได้ถึง 1.5 เมตร ลำด้นเป็นเหง้า หนา
ใบ ใบเดี่ยว ออกจากเหง้าหรือลำต้นใต้ดิน เรียงแบบเวียนรอบช้อนกันขึ้นไปตามลำดับ ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร ด้านบนเป็นร่องเกลี้ยง ด้านล่างโค้ง มีขนละเอียดสีน้ำตาลปกคลุม แผ่นใบยาวรีหรือกว้างยาวรี ขนาดกว้าง 5-15 ซม. ยาว 60-150 ซม. ปลายใบสอบแคบและแหลม โคนใบสอบแคบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นสันนูนสลับกับร่องตามยาวตลอด ผิวใบมีขนละเอียดประปราย ดอกออกเป็นช่อกระจะแบบกระจุกเกือบกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 2.5-7.0 ซม. มีใบประดับยาว 1.5-5.0 ซม. มีขนอ่อนปกคลุมจะเกลี้ยงเมื่อติดผล ก้านช่อดอกยาว 7-30 ซม. โค้งห้อยลง มีขนสั้นหนานุ่มปกคลุม เมื่อติดผลผิวเกลี้ยง
ดอก ดอกย่อยสีเหลืองสมบูรณ์เพศ ก้านดอกส้มมากมองคล้ายไม่มีก้าน วงกลีบรวมเชื่อมกันเป็นท่อยาว 1-2 มม. ปลายแยกเป็นกลีบคล้ายกลีบบัว 6 กลีบ ยาว 6-8 มม. เรียงตัวเป็น 2 ชั้น ชั้นนอก 3 กลีบ ชั้นใน 3 กลีบ เกสรเพศผู้ 6 อัน แยกกันติดอยู่ที่ปากท่อดอก รังไข่มี 3 ช่อง ก้านเกสรเป็นแท่งสั้น ปลายแยกเป็น 3 พู
ผล ค่อนข้างกลมถึงรูปไข่ ขนาดความยาว 10-15 มม. ไม่มีจะงอย รวมเป็นเป็นพวงหรือทะลายจำนวน 50-80 ผล เมื่อแก่มีขาวหรือเขียวถึงสีน้ำตาล เนื้อในสีขาว มีเมล็ด 2-5 เมล็ด เมล็ดรูปเกือบกลมเมื่อแก่มีสีดำ [10]
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ฉีกเป็นเส้นแล้วใช้เป็นเชือกสำหรับมัดห่อของ เช่นห่อข้าวเหนียว(ปะหล่อง,ลั้วะ)
- หัวใต้ดิน ทุบแล้วต้มน้ำนำน้ำที่ได้ผสมกับน้ำซาวข้าวและตะไคร้นำไปสระผม ช่วยให้ผมดกดำ(ปะหล่อง)
- ชาวเขาโดยทั่วไปกินเนื้อในผล ปะหล่องและไทยใหญ่ใช้เหง้าสดนำมาทุบทำเป็นยาสระผม มูเซอใช้ใบห่ออาหาร ผัก ผลไม้ ขนมและของกินอื่นๆ แทนการใช้ใบตอง อีก้อใช้ใบห่อร่างของศพเด็กคลอดใหม่ที่ตายเนื่องจากการคลอด ในด้านการใช้เป็นยาพื้นบ้าน อีก้อใช้เหง้าตำทำเป็นยาพอกห้ามเลือด แก้บาดแผลสดและเป็นยาสมานแผล [10]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[10] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 2. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง