ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา
- Balsam pear, Bitter cucumber - Bitter Gourd, Bitter Cucumber, Balsam Pear, Carilla Fruit, Balsam Apple, Bitter Melon, Bitter Squash [3]
Momordica charantia L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Cucurbitaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L.
 
  ชื่อไทย มะระ, มะระขี้นก, มะห่อย
 
  ชื่อท้องถิ่น โคะโยคะ, เซาะคาเด๊าะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะระขี้นก/มะห่อย(คนเมือง), ผักเหิด(ขมุ), ด่อมังค่าง(ปะหล่อง), มะห่อย(ไทลื้อ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้เลื้อยล้มลุก มีมือยึดเกาะ (tendril) ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ลำต้นยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นสีเขียวขนาดเล็กมีขนอ่อนประปราย เป็นไม้เนื้ออ่อน มีสัน 5 เหลี่ยมเรียบหรือมีขน มือยึดเกาะ (tendril) แบบเดี่ยว
ใบ เดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบกว้างรูปไข่ถึงรูปไตหรือคล้ายทรงกลมยาว 2.5-10 ซม. กว้าง 3-12.5 ซม. เรียบมีขนนุ่มเล็กน้อย โดยเฉพาะที่เส้นใบทั้ง 2 ด้าน โคนใบเว้ารูปหัวใจ ใบหยักลึกรูปมือ 5-9 หยัก แต่ละหยักรูปไข่กลับรูปไข่เรียวยาวหรือรูปเหลี่ยมข้าวแหลมตัดแคบไปหาโคนปลายแหลมมีติ่งขอบใบเว้าเป็นคลื่นซี่ฟัน 5-7 หยัก หรือเป็นคลื่นเล็กๆ ก้านใบยาว 1-7 ซม.
ดอก เดี่ยวสีเหลือง แยกเพศแต่ละกลีบ 5 กลีบแยกจากกัน กลีบบางกลีบช้ำง่าย ดอกออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกชั้นนอก (sepal) 5กลีบ รูปไข่ปลาแหลมสีเขียวอ่อนแยกใกล้ฐานยาว 3-15 ซม. กว้าง 4-22 มม. กลีบดอกชั้นใน (petal) ยาว 11-22 มม. กว้าง 7.5-15 มม. เกสรตัวผู้ 3 อับเรณูอยู่ชิดกันกลางดอก ดอกตัวเมียก้านดอกยาว 2-50 มม. ใบประดับอยู่ทางด้านฐานยาว 1-12 มม. กว้าง 1-10 มม. กลีบดอกยาว 7-12 มม. กว้าง 3-6 มม. ผลรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระมาก ห้อยลงรูปไช่กว้างสอบเรียวลงเป็นจงอยยาว 3.5-11 (-4.5) มม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 (-8) มม.มีเส้นใบแถวไม่เรียบตามยาว 8-9 แถว ระหว่างแถวมีตุ้มเล็กๆ ขนาดไม่เท่ากันมากมาย
ผล สุกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มแตกที่ปลายแยกออกเป็น 3 ส่วน เมล็ดสีขาวหรือน้ำตาลรูปคู่ขนาน 8-16 *4.5-10*2.5-3.5 มม. มีเนื้อสีแดงหุ้ม ผิวมีลวดลายขอบเป็นร่อง [3]
 
  ใบ ใบ เดี่ยวเรียงสลับแผ่นใบกว้างรูปไข่ถึงรูปไตหรือคล้ายทรงกลมยาว 2.5-10 ซม. กว้าง 3-12.5 ซม. เรียบมีขนนุ่มเล็กน้อย โดยเฉพาะที่เส้นใบทั้ง 2 ด้าน โคนใบเว้ารูปหัวใจ ใบหยักลึกรูปมือ 5-9 หยัก แต่ละหยักรูปไข่กลับรูปไข่เรียวยาวหรือรูปเหลี่ยมข้าวแหลมตัดแคบไปหาโคนปลายแหลมมีติ่งขอบใบเว้าเป็นคลื่นซี่ฟัน 5-7 หยัก หรือเป็นคลื่นเล็กๆ ก้านใบยาว 1-7 ซม.
 
  ดอก ดอก เดี่ยวสีเหลือง แยกเพศแต่ละกลีบ 5 กลีบแยกจากกัน กลีบบางกลีบช้ำง่าย ดอกออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกชั้นนอก (sepal) 5กลีบ รูปไข่ปลาแหลมสีเขียวอ่อนแยกใกล้ฐานยาว 3-15 ซม. กว้าง 4-22 มม. กลีบดอกชั้นใน (petal) ยาว 11-22 มม. กว้าง 7.5-15 มม. เกสรตัวผู้ 3 อับเรณูอยู่ชิดกันกลางดอก ดอกตัวเมียก้านดอกยาว 2-50 มม. ใบประดับอยู่ทางด้านฐานยาว 1-12 มม. กว้าง 1-10 มม. กลีบดอกยาว 7-12 มม. กว้าง 3-6 มม. ผลรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวขรุขระมาก ห้อยลงรูปไช่กว้างสอบเรียวลงเป็นจงอยยาว 3.5-11 (-4.5) มม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 (-8) มม.มีเส้นใบแถวไม่เรียบตามยาว 8-9 แถว ระหว่างแถวมีตุ้มเล็กๆ ขนาดไม่เท่ากันมากมาย
 
  ผล ผล สุกสีเหลืองหรือสีเหลืองอมส้มแตกที่ปลายแยกออกเป็น 3 ส่วน เมล็ดสีขาวหรือน้ำตาลรูปคู่ขนาน 8-16 *4.5-10*2.5-3.5 มม. มีเนื้อสีแดงหุ้ม ผิวมีลวดลายขอบเป็นร่อง [3]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลและยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก หรือต้มรวมกับข้าว เบือน (ข้าวเบอะ)(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ยอดอ่อนและผล ลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง มีรสขม(คนเมือง,ขมุ,ปะหล่อง)
ใบและผล ลวกกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ไทลื้อ)
ผล ต้มกินจิ้มน้ำพริก(เมี่ยน)
- สรรพคุณความเชื่อ
ใบ ใบสดรสขมลวกหรือต้มกินเป็นยาฟอกโลหิต ยาระบาย ยาถ่ายพยาธิเข็มหมุด เจริญอาหาร หรือใช้ใบแห้งนำมาบด ให้ละเอียดผสมน้ำกินเป็นยาขับพยาธิ ขับลม และบำรุงธาตุ เป็นต้น
ใบและผล ใช้ใบและผลสด รสขม ตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำกินเป็นยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลม เจริญอาหาร บำรุงธาตุ เป็นยาช่วยถ่ายพยาธิ แก้ท่อน้ำดีอักเสบ
ดอก แก้พิษ แก้บิด
ผล ผลสดรสขมจัด ผลอ่อนมีวิตามินซีสูงมาก นำมาต้มหรือประกอบอาหาร ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ลดการเกิดต้อกระจก มีคุณค่าในการช่วยบำบัดโรคเบาหวาน บำรุงธาตุ แก้ปากเป็นฝ้าเป็นขุย บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร บำรุงโลหิตระดู แก้ตับม้ามอักเสบ ขับพยาธิ แก้ลมเข้าข้อ เป็นยาระบายอ่อนๆ หรือใช้ผลแห้งบดให้ละเอียด โรยบริเวณที่เป็นแผล ทาแก้คัน แก้พิษฝี แก้บวม ต้านเชื้อไวรัสและมะเร็ง ผลสุกเป็นพิษมี saponin มากทำให้ท้องร่วงและอาเจียน หิต โรคผิวหนัง
เมล็ด รสขมแก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับพยาธิตัวกลม
ราก รสขม ใช้ปรุงเป็นยาบำรุง ฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร เป็นยาธาตุ แก้ไข้ แก้พิษร้อน แก้บิด ถ่ายอุดจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อน สมานแผล คุมธาตุ บำรุงธาตุ
เถา บำรุงน้ำดี ยาระบายอ่อนๆ ดับพิษดีและโลหิต แก้ไขเพื่อดีพิการ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อ เท้าบวม แก้ปวดตามข้อนิ้วมือและนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ กัดเสมหะ แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้ [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นบริเวณที่มีดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดจัด
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง