|
วงศ์ |
Melanthiaceae (Trilliaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Paris polyphylla Sm. |
|
|
ชื่อไทย |
ตีนฮุ้งดอย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เล็บฮุ้ง, ต๋ง(คนเมือง), ต่องลุ้งจ่อ(ไทใหญ่), ยาประดงร้อยเอ็ด(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เล็บฮุ้งเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบเดี่ยวออกเวียนรอบข้อ 5-9 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบมนหรือสอบ ปลายใบแหลม ก้านใบสีน้ำตาล ดอกเดี่ยวสีเหลืองหรือสีส้ม ออกที่ปลายยอด มีใบประดับ 4-6 ใบรองรับ ผลแบบแคปซูล ทรงกลม ผิวเรียบ เมล็ดสีแดงอมส้ม |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวออกเวียนรอบข้อ 5-9 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนใบมนหรือสอบ ปลายใบแหลม ก้านใบสีน้ำตาล |
|
|
ดอก |
ดอกเดี่ยวสีเหลืองหรือสีส้ม ออกที่ปลายยอด มีใบประดับ 4-6 ใบรองรับ |
|
|
ผล |
ผลแบบแคปซูล ทรงกลม ผิวเรียบ เมล็ดสีแดงอมส้ม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้นใต้ดิน กินสดหรือต้มดื่มน้ำรักษาอาการบาดเจ็บ เช่นโดนกระสุนปืน(ไทใหญ่)
หัวใต้ดิน เอาไปดองเหล้ากินเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
หัวใต้ดิน ฝานตากแห้งต้มน้ำดื่มหรือดองเหล้า ดื่มแก้อาการปวดเมื่อย หรือบำรุงกำลัง(ลั้วะ)
- ลำต้นใต้ดิน เก็บขายได้ราคากิโลกรัมละ 60-80 บาท(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นตามพื้นในป่าสนเขา ที่มีเรือนยอดโปร่ง ความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล |
|
|
เอกสารประกอบ |
|