|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ข่าวประชาสัมพันธ์ กรมป่าไม้วิจัยกระถินณรงค์ลูกผสมพันธุ์ใหม่ |
กรมป่าไม้วิจัยกระถินณรงค์ลูกผสมพันธุ์ใหม่
|
|
|
การจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นภารกิจของกรมป่าไม้ นอกจากการควบคุม ดูแล และการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าแล้ว ยังมีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับป่า การจัดการป่าชุมชน การปลูกป่าในรูปแบบต่างๆ และการปลูกป่าเศรษฐกิจด้วยการพัฒนาพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "กระถินณรงค์ลูกผสมพันธุ์ใหม่" ที่ศึกษาวิจัยโดยสถานีวนวัฒนวิจัยสะแกราช อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
กระถินณรงค์เป็นไม้โตเร็ว อยู่ในวงศ์ Leguminosac-Mimosoideac สกุล Acacia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Acacia auriculiformis A.Cunn.ex Benth มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินีและอินโดนีเซีย ในประเทศไทยเชื่อกันว่า ร.ท.ณรงค์ ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวน) เป็นผู้นำเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี 2478 กระถินณรงค์เป็นไม้ตระกูลถั่วที่ระบบรากสามารถตรึงไนโตรเจนและช่วยปรับปรุงดิน เติบโตได้ดีในหลายสภาพท้องที่ รุ่นแรกได้กระจายพันธุ์ไปยังท้องที่ต่างๆ ของประเทศไทย มีลักษณะลำต้นคดงอ เรือนยอดแผ่กว้าง แตกกิ่งก้านมาก และมักแตกกิ่งที่ระดับล่างของลำต้น ทำให้คุณภาพเนื้อไม้ด้อยไปด้วยทั้งที่มีความแข็ง และเนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อน มีการหดตัวน้อยมาก แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างและทำเฟอร์นิเจอร์ได้ จึงปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา ฟื้นฟูพื้นที่และบำรุงดิน ใช้เป็นไม้เชื้อเพลิง ทำฟืนและถ่าน ให้พลังความร้อนสูง
นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยว่า กรมป่าไม้ได้เล็งเห็นศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์ไม้กระถินณรงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าเนื้อไม้ จึงมีโครงการศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี 2527 โดยได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติเพิ่มเติมจากถิ่นกำเนิดในรัฐ Queensland เขต Morthern Territory ประเทศออสเตรเลีย และถิ่นกำเนิดจากประเทศ Papua New Guinea จากหน่วยงานวิจัยด้านป่าไม้ของ CSIRO (commonwerlth Sciencc Industry Research Organization) และ ADIAR (Australian Centre For Intermqtional Agriculture Research)
จากผลการศึกษาพบว่า กระถินณรงค์ในประเทศไทยมีการถดถอยทางพันธุกรรม ทำให้การเติบโตและรูปทรงไม่ดี เมื่อนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งธรรมชาติดังกล่าวมาปลูกก็พบว่าแตกต่างกันระหว่างถิ่นกำเนิด โดยพันธุ์จากรัฐ Queensland มีรูปทรงที่เปลาตรง พันธุ์จาก Papua New Guinea โตเร็วและให้เนื้อไม้มากกว่า พันธุ์จากเขต Northern Territory ทนแห้งแล้ง ปรับตัวเข้ากับพื้นที่ในไทยได้ดี
จากผลวิจัยดังกล่าว ในปี 2537 กรมป่าไม้จึงทดลองผสมข้ามพันธุ์จากถิ่นกำเนิดในรัฐ Queensland เขต Northern ประเทศออสเตรเลีย กับถิ่นกำเนิดเขต Papua New Guinea โดยร่วมกับมหาวิทยาลัย Northern Territory ประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลากว่า 3 ปีจึงประสบผลสำเร็จ ได้ลูกผสมกระถินณรงค์และนำมาปลูกรวมพันธุ์และทดลองพันธุ์ พบว่ามีการเจริญเติบโตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เหมาะแก่การนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จึงได้ขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ หรือการปักชำ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้กล้าไม้ที่คงลักษณะพันธุกรรมที่ดีของต้นแม่ไว้ เพื่อนำไปใช้ปลูกป่าที่เรียกว่า Clonal Forestry เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนที่สนใจทดลองปลูกในท้องที่แบบต่างๆ
นอกจากไม้กระถินณรงค์สายพันธุ์นี้แล้ว กรมป่าไม้ยังได้พัฒนาสายพันธุ์ไม้สกุลอะคาเซีย 5 ชนิด และได้เสนอคณะ กก.คุ้มครองพันธุ์พืชให้เป็นพันธุ์พืชใหม่ที่จะได้รับการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2552 (ฉบับที่ 10) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2554 ได้แก่ Acacia auriculiformis A. Cunn. ex Benth, A. mangium Willd., A. aulacocrpa A. Cunn. ex Benth., A. crassicarpa A. Cunn. ex Benth. และลูกผสม กรมป่าไม้จึงขอเชิญรับกล้ากระถินณรงค์สายพันธุ์ใหม่ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป มีจำนวนจำกัดเพียง 50,000 กล้า ที่สถานีวนวัฒนวิจัยสะแกราช อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา โทร.08-9491-1314.
ที่มา : http://www.thaipost.net/x-cite/080512/56484
แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล |
|
|
|
|