|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb บทความ Botany of month |
Botany of month |
|
|
Stemona burkillii Prain
วันที่ 3 กันยายน 2552
พืชสกุลหนอนตายหยาก (Stemona Lour.) จัดอยู่ในวงศ์ Stemonaceae พืชวงศ์นี้มีทั้งหมด 3 สกุลคือ Croomia, Stemona และ Stichoneuron ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบพืชวงศ์นี้เฉพาะสกุล Stemona และ Stichoneuron เท่านั้น ในต่างประเทศเช่นจีนและเวียดนามมีการใช้พืชสกุล Stemona บางชนิดเป็นยาสมุนไพรแก้ไอ
บทความประจำเดือนกันยายน
พืชสกุลหนอนตายหยาก (Stemona Lour.) จัดอยู่ในวงศ์ Stemonaceae พืชวงศ์นี้มีทั้งหมด 3 สกุลคือ Croomia, Stemona และ Stichoneuron ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบพืชวงศ์นี้เฉพาะสกุล Stemona และ Stichoneuron เท่านั้น ในต่างประเทศเช่นจีนและเวียดนามมีการใช้พืชสกุล Stemona บางชนิดเป็นยาสมุนไพรแก้ไอ ในประเทศไทยมีการนำพืชสกุลหนอนตายหยากมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เช่นในด้านการเกษตร โดยเป็นแหล่งสารสกัดเพื่อกำจัดศัตรูพืช นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้เป็นพืชสมุนไพร ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการนำพืชมาใช้ผิดต้น เนื่องจากสมุนไพรพืชสกุลหนอนตายหยากที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด หรือแม้แต่พืชต่างวงศ์บางชนิดมีชื่อหนอนตายหยากเช่นเดียวกัน เหล่านี้นับเป็นปัญหาที่เกิดจากการมีชื่อพ้อง ดังนั้นการนำพืชผิดชนิดมาใช้ทำให้ไม่ได้ประโยชน์ดังที่คาดหรือบางครั้งอาจเป็นโทษได้เช่นกัน ประกอบกับหนอนตายหยากในท้องตลาดมีเฉพาะส่วนรากเท่านั้น จึงเกิดความสับสนในการนำพืชผิดชนิดมาใช้ประโยชน์
นางสาวปาจารีย์ อินทะชุป และ รศ.ดร.สรัญญา วัชโรทัย
(credit:http://botany.sci.ku.ac.th/index.php?module=news |
|
|
|
|